เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. ธัมมิกวรรค 12. ธัมมิกสูตร
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพได้ทรงบันดาลให้มีลมฝนอย่างแรงพัดต้นไทรใหญ่
ชื่อสุปติฏฐะให้กลับตั้งขึ้นดังเดิมด้วยฤทธิ์ ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะได้มีเปลือกมีราก
ตั้งอยู่ดังเดิม ฉันใด
พราหมณ์ธัมมิกะ อุบาสกอุบาสิกาชาวชาติภูมิชนบททั้งหลาย ได้ขับไล่เธอ
ผู้ตั้งอยู่ในสมณธรรมให้ออกจากอาวาสทั้ง 7 แห่งในชาติภูมิชนบททั้งหมดฉันนั้น
เหมือนกัน”
ท่านพระธัมมิกะทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมณะดำรงอยู่ในสมณธรรม
เป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ธัมมิกะ สมณะในธรรมวินัยนี้ไม่ด่า
ตอบบุคคลผู้ด่าอยู่ ไม่เสียดสีตอบบุคคลผู้เสียดสีอยู่ ไม่ประหารตอบบุคคลผู้ประหาร
อยู่ พราหมณ์ธัมมิกะ สมณะดำรงอยู่ในสมณธรรมเป็นอย่างนี้แล”
ท่านพระธัมมิกะทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกอุบาสกชาวชาติภูมิ
ชนบท ได้ขับไล่ข้าพระองค์ผู้ไม่ดำรงอยู่ในสมณธรรมให้ออกจากอาวาสทั้ง 7 แห่ง
ในชาติภูมิชนบททั้งหมด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ธัมมิกะ เรื่องเคยมีมาแล้ว มีครูชื่อสุเนตตะ
เป็นเจ้าลัทธิผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย มีสาวกหลายร้อยคน ได้แสดง
ธรรมแก่สาวกทั้งหลายเพื่อความเป็นผู้เกิดในพรหมโลก สาวกเหล่าใดเมื่อครูสุเนตตะ
แสดงธรรมเพื่อความเป็นผู้เกิดในพรหมโลกอยู่ ไม่ทำจิตให้เลื่อมใส สาวกเหล่านั้น
หลังจากตายแล้วได้ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสาวกเหล่าใด เมื่อครู
สุเนตตะแสดงธรรมเพื่อความเป็นผู้เกิดในพรหมโลกอยู่ ได้ทำจิตให้เลื่อมใส สาวก
เหล่านั้นหลังจากตายแล้วได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
เรื่องเคยมีมาแล้ว มีครูชื่อมูคปักขะ ฯลฯ มีครูชื่ออรเนมิ ฯลฯ มีครูชื่อ
กุททาลกะ ฯลฯ มีครูชื่อหัตถิปาละ ฯลฯ มีครูชื่อโชติปาละ เป็นเจ้าลัทธิผู้
ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย มีสาวกหลายร้อยคน ได้แสดงธรรมเพื่อ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :529 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. ธัมมิกวรรค 12. ธัมมิกสูตร
ความเป็นผู้เกิดในพรหมโลก สาวกเหล่าใด เมื่อครูโชติปาละแสดงธรรมเพื่อความ
เป็นผู้เกิดในพรหมโลกอยู่ ไม่ทำจิตให้เลื่อมใส สาวกเหล่านั้นหลังจากตายแล้วได้
ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสาวกเหล่าใด เมื่อครูโชติปาละแสดงธรรม
เพื่อความเป็นผู้เกิดในพรหมโลกอยู่ ได้ทำจิตให้เลื่อมใส สาวกเหล่านั้นหลังจากตายแล้ว
ได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
พราหมณ์ธัมมิกะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ผู้ใดมีจิตถูกโทสะประทุษร้าย
พึงด่า บริภาษ ครูทั้ง 6 นี้ ผู้เป็นเจ้าลัทธิ ผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย
มีบริวารหลายร้อยคน พร้อมทั้งหมู่สาวก ผู้นั้นพึงประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก
หรือไม่”
ท่านพระธรรมิกกราบทูลว่า “พึงประสพ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ธัมมิกะ ผู้ใดมีจิตถูกโทสะประทุษร้าย
พึงด่า พึงบริภาษครูทั้ง 6 นี้ ผู้เป็นเจ้าลัทธิ ผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม
ทั้งหลาย มีบริวารหลายร้อยคน พร้อมทั้งหมู่สาวก ผู้นั้นพึงประสพสิ่งที่มิใช่บุญ
เป็นอันมาก ผู้ใดมีจิตถูกโทสะประทุษร้าย พึงด่า บริภาษบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ1
คนเดียว ผู้นั้นย่อมประสพสิ่งที่มิใช่บุญมากกว่าบุคคลผู้ด่า บริภาษครูทั้ง 6 นั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราไม่กล่าวว่าการขุดโค่นคุณความดีของตนเช่นนี้ จะมี
ภายนอกศาสนานี้ เหมือนการด่า การบริภาษเพื่อนพรหมจารี
พราหมณ์ธัมมิกะ เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘จิตของเรา
จักไม่ประทุษร้ายในเพื่อนพรหมจารีผู้เสมอตน’
พราหมณ์ธัมมิกะ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
ครูทั้ง 6 ผู้มียศ ได้รับยกย่องว่าเป็นเจ้าลัทธิในอดีต
คือครูสุเนตตะ ครูมูคปักขะ ครูอรเนมิ

เชิงอรรถ :
1 ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันซึ่งมีชื่อว่า ‘ผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ’ บ้าง
‘ผู้มาสู่พระสัทธรรม’ บ้าง ‘ผู้ประกอบด้วยญาณของพระเสขะ’ บ้าง ‘ผู้ประกอบด้วยวิชชาของพระเสขะ’ บ้าง
‘ผู้เข้าถึงกระแสธรรม’ บ้าง ‘ผู้มีปัญญาแทงตลอด’ บ้าง ‘ผู้ยืนจรดประตูอมตะ’ บ้าง (องฺ.เอกก.อ. 1/268/
402, องฺ.ฉกฺก.อ. 3/54/133)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :530 }