เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. ธัมมิกวรรค 11. อัปปมาทสูตร
ธรรมอย่างหนึ่งคือความไม่ประมาทที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ฯลฯ ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน
เปรียบเหมือนบุคคลผู้เกี่ยวหญ้า เกี่ยวหญ้าแล้วก็จับที่ยอดสลัดลงฟาดไป
เคาะไป ฉันใด ธรรมอย่างหนึ่งคือความไม่ประมาทที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ฯลฯ
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เปรียบเหมือนเมื่อพวงผลมะม่วงถูกตัดที่ขั้ว ผลมะม่วงลูกใดลูกหนึ่งที่ติดอยู่
กับขั้ว ผลมะม่วงเหล่านั้นทั้งหมดย่อมเป็นของติดไปกับขั้ว ฉันใด
ธรรมอย่างหนึ่งคือความไม่ประมาทที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ฯลฯ ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน
เปรียบเหมือนพระราชาผู้ปกครองประเทศเล็ก ๆ พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง
พระราชาเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นผู้ขึ้นตรงต่อพระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าจักรพรรดิ
ชาวโลกกล่าวว่าเป็นเลิศกว่าพระราชาเหล่านั้น ฉันใด
ธรรมอย่างหนึ่งคือความไม่ประมาท ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ฯลฯ ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน
เปรียบเหมือนแสงสว่างชนิดใดชนิดหนึ่งแห่งดวงดาว แสงสว่างเหล่านั้นทั้งหมด
ไม่ถึงส่วนที่สิบหกแห่งแสงสว่างของดวงจันทร์ แสงสว่างของดวงจันทร์ ชาวโลก
กล่าวว่าเป็นเลิศกว่าแสงสว่างแห่งดวงดาวเหล่านั้น ฉันใด
ธรรมอย่างหนึ่ง คือ ความไม่ประมาทที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือ
ไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้งสอง คือ ประโยชน์ในภพนี้ และประโยชน์ในภพหน้า ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน
พราหมณ์ ธรรมอย่างหนึ่งคือความไม่ประมาทที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมยึดถือไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองคือ ประโยชน์ในภพนี้ และประโยชน์ในภพหน้า”
พราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดม ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดม ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ
ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
จนตลอดชีวิต”
อัปปมาทสูตรที่ 11 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :524 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. ธัมมิกวรรค 12. ธัมมิกสูตร
12. ธัมมิกสูตร
ว่าด้วยท่านพระธัมมิกะ
[54] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ1 เขตกรุงราชคฤห์
สมัยนั้น ท่านพระธัมมิกะเป็นเจ้าอาวาส อยู่ในอาวาส 7 แห่ง ในชาติภูมิชนบท
ทั้งหมด ทราบว่า ท่านพระธัมมิกะด่า บริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสีพวกภิกษุ
อาคันตุกะด้วยวาจา และภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นเมื่อถูกท่านพระธัมมิกะด่า บริภาษ
เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสีด้วยวาจา จึงหลีกไป ไม่อยู่ ละทิ้งอาวาส
ครั้งนั้น พวกอุบาสกและอุบาสิกาชาวชาติภูมิชนบทมีความคิดดังนี้ว่า “พวกเรา
ได้บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร
แต่พวกภิกษุอาคันตุกะก็หลีกไป ไม่อยู่ ละทิ้งอาวาส อะไรหนอเป็นเหตุปัจจัยให้
พวกภิกษุอาคันตุกะหลีกไป ไม่อยู่ ละทิ้งอาวาส”
ต่อมา พวกอุบาสกและอุบาสิกาชาวชาติภูมิชนบทคิดกันว่า “ท่านพระธัมมิกะ
นี้เอง ด่า บริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสีภิกษุอาคันตุกะด้วยวาจา และภิกษุ
อาคันตุกะเหล่านั้นเมื่อถูกท่านพระธัมมิกะด่า บริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสี
ด้วยวาจา จึงหลีกไป ไม่อยู่ ละทิ้งอาวาส ทางที่ดีพวกเราพึงช่วยกันขับไล่ท่าน
พระธัมมิกะให้หนีไป” จึงเข้าไปหาท่านพระธัมมิกะถึงที่อยู่ ได้กล่าวกับท่านพระ
ธัมมิกะดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านพระธัมมิกะจงหลีกไปจากอาวาสนี้ ท่าน
ไม่ควรอยู่ในอาวาสนี้”
ภายหลังต่อมา ท่านพระธัมมิกะได้จากอาวาสนั้นไปสู่อาวาสอื่น ทราบว่า แม้ที่
อาวาสนั้น ท่านพระธัมมิกะก็ด่า บริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสีพวกภิกษุ
อาคันตุกะด้วยวาจา และภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นเมื่อถูกท่านพระธัมมิกะด่า บริภาษ
เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสีด้วยวาจา หลีกไป ไม่อยู่ ละทิ้งอาวาส
ครั้งนั้น พวกอุบาสกและอุบาสิกาชาวชาติภูมิชนบทมีความคิดดังนี้ว่า “พวกเรา
ได้บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร


เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 1 ฉักกนิบาต ข้อ 41 (ทารุกขันธสูตร) หน้า 493 ในเล่มนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :525 }