เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. ธัมมิกวรรค 11. อัปปมาทสูตร
11. อัปปมาทสูตร
ว่าด้วยความไม่ประมาท
[53] ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศัย พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ธรรมอย่างหนึ่งที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือ
ไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้งสอง คือ ประโยชน์ในภพนี้ และประโยชน์ในภพหน้า มีอยู่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ ธรรมอย่างหนึ่งที่บุคคลเจริญทำให้
มากแล้ว ย่อมยึดถือไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้งสอง คือ ประโยชน์ในภพนี้ และประโยชน์ใน
ภพหน้า มีอยู่”
พราหมณ์ทูลถามว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ธรรมอย่างหนึ่งที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้งสอง คือ ประโยชน์ในภพนี้ และ
ประโยชน์ในภพหน้าเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ ธรรมอย่างหนึ่งคือความไม่ประมาท
ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้งสอง คือ ประโยชน์ใน
ภพนี้ และประโยชน์ในภพหน้า
เปรียบเหมือนรอยเท้าชนิดใดของสัตว์ทั้งหลายผู้สัญจรไปบนแผ่นดิน รอยเท้า
เหล่านั้นทั้งหมดย่อมถึงความรวมลงในร้อยเท้าช้าง รอยเท้าช้าง ชาวโลกกล่าวว่า
เป็นเลิศกว่ารอยเท้าเหล่านั้น เพราะรอยเท้าช้างเป็นรอยเท้าใหญ่ ฉันใด
ธรรมอย่างหนึ่งคือความไม่ประมาทที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือไว้
ได้ซึ่งประโยชน์ทั้งสอง คือ ประโยชน์ในภพนี้ และประโยชน์ในภพหน้า ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน
เปรียบเหมือนกลอนชนิดใดชนิดหนึ่งแห่งเรือนยอด กลอนเหล่านั้นทั้งหมด
ย่อมโน้มน้อมรวมเข้าหายอดเรือน ยอดเรือน ชาวโลกกล่าวว่าเป็นเลิศกว่ากลอน
เหล่านั้น ฉันใด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :523 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. ธัมมิกวรรค 11. อัปปมาทสูตร
ธรรมอย่างหนึ่งคือความไม่ประมาทที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ฯลฯ ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน
เปรียบเหมือนบุคคลผู้เกี่ยวหญ้า เกี่ยวหญ้าแล้วก็จับที่ยอดสลัดลงฟาดไป
เคาะไป ฉันใด ธรรมอย่างหนึ่งคือความไม่ประมาทที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ฯลฯ
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เปรียบเหมือนเมื่อพวงผลมะม่วงถูกตัดที่ขั้ว ผลมะม่วงลูกใดลูกหนึ่งที่ติดอยู่
กับขั้ว ผลมะม่วงเหล่านั้นทั้งหมดย่อมเป็นของติดไปกับขั้ว ฉันใด
ธรรมอย่างหนึ่งคือความไม่ประมาทที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ฯลฯ ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน
เปรียบเหมือนพระราชาผู้ปกครองประเทศเล็ก ๆ พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง
พระราชาเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นผู้ขึ้นตรงต่อพระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าจักรพรรดิ
ชาวโลกกล่าวว่าเป็นเลิศกว่าพระราชาเหล่านั้น ฉันใด
ธรรมอย่างหนึ่งคือความไม่ประมาท ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ฯลฯ ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน
เปรียบเหมือนแสงสว่างชนิดใดชนิดหนึ่งแห่งดวงดาว แสงสว่างเหล่านั้นทั้งหมด
ไม่ถึงส่วนที่สิบหกแห่งแสงสว่างของดวงจันทร์ แสงสว่างของดวงจันทร์ ชาวโลก
กล่าวว่าเป็นเลิศกว่าแสงสว่างแห่งดวงดาวเหล่านั้น ฉันใด
ธรรมอย่างหนึ่ง คือ ความไม่ประมาทที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือ
ไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้งสอง คือ ประโยชน์ในภพนี้ และประโยชน์ในภพหน้า ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน
พราหมณ์ ธรรมอย่างหนึ่งคือความไม่ประมาทที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมยึดถือไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองคือ ประโยชน์ในภพนี้ และประโยชน์ในภพหน้า”
พราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดม ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดม ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ
ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
จนตลอดชีวิต”
อัปปมาทสูตรที่ 11 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :524 }