เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. ธัมมิกวรรค 9. อานันทสูตร
เมื่ออินทรียสังวรไม่มี ศีลของบุคคลผู้มีอินทรียสังวรวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูก
ขจัดแล้ว ฯลฯ วิมุตติญาณทัสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูก
ขจัดแล้ว เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของ
ต้นไม้นั้น ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉันนั้น
เมื่ออินทรียสังวรมี ศีลของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรียสังวร ชื่อว่ามีเหตุ
สมบูรณ์ เมื่อศีลมี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
เมื่อสัมมาสมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ ชื่อว่า
มีเหตุสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์
ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อนิพพิทาและวิราคะมี วิมุตติ-
ญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออินทรียสังวรมี ศีลของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรียสังวร
ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ฯลฯ วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและ
วิราคะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ สะเก็ด เปลือก
กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้นย่อมถึงความสมบูรณ์
อินทริยสังวรสูตรที่ 8 จบ
9. อานันทสูตร
ว่าด้วยคุณธรรมของพระอานนท์
[51] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนา
ปราศัย พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถาม
ท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร ภิกษุได้ฟังธรรมที่ยังไม่เคยฟัง ธรรมที่ภิกษุนั้นเคยฟังแล้วไม่ถึง
ความเลอะเลือน ธรรมที่ภิกษุนั้นเคยสัมผัสด้วยใจมาก่อน ปรากฏแก่เธอ และภิกษุ
นั้นย่อมรู้ธรรมที่ยังไม่เคยรู้ด้วยเหตุเท่าไรหนอ”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ท่านอานนท์ เป็นพหูสูต เฉพาะท่านอานนท์เท่านั้น
ที่จะอธิบายเนื้อความแห่งภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :519 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. ธัมมิกวรรค 9. อานันทสูตร
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “ท่านสารีบุตร ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
ผมจักกล่าว” ท่านพระสารีบุตรรับคำแล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เรียนธรรมคือ สุตตะ เคยยะ เวยยา-
กรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ เธอแสดงธรรม
ตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร บอกธรรมตามที่ตนได้
สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร สาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมา
ตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่
ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมา อยู่จำพรรษาในอาวาสที่มีภิกษุเถระผู้เป็นพหูสูต
เรียนจบคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกาอยู่ เข้าไปหาภิกษุเถระเหล่านั้นใน
เวลาที่สมควร แล้วสอบถาม ไต่ถามว่า ‘พระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร เนื้อความ
แห่งพระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร’ ภิกษุผู้เถระเหล่านั้นย่อมเปิดเผยข้อที่ยังไม่เปิดเผย
ทำข้อที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่าย และบรรเทาความสงสัยในธรรมที่น่าสงสัยหลาย
อย่างแก่ภิกษุนั้น ท่านสารีบุตร ภิกษุได้ฟังธรรมที่ยังไม่เคยฟัง ธรรมที่ภิกษุนั้นเคย
ฟังแล้ว ย่อมไม่ถึงความเลอะเลือน ธรรมที่ภิกษุนั้นเคยสัมผัสด้วยใจมาก่อน ปรากฏ
แก่เธอ และภิกษุนั้นรู้ธรรมที่ยังไม่เคยรู้ชัดด้วยเหตุเท่านี้แล”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ท่าน
อานนท์ ได้กล่าวไว้ดีแล้ว พวกผมจะทรงจำท่านอานนท์ว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรม
6 ประการนี้ เพราะท่านอานนท์
1. เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ
ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ
2. แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดย
พิสดาร
3. บอกธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร
4. สาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร
5. ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมา
ตามที่ตนได้เรียนมา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :520 }