เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. ธัมมิกวรรค 8. อินทริยสังวรสูตร
โมฆบุรุษ บางพวกในธรรมวินัยนี้ เหมือนจะร่าเริงกล่าวพยากรณ์อรหัตตผลอยู่ เขา
เหล่านั้นย่อมถึงความคับแค้นในภายหลัง
พระขีณาสพทั้งหลาย
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบเทียบกับบุคคลที่ดีกว่า
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบเทียบกับบุคคลที่ด้อยกว่า
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบเทียบกับบุคคลที่เสมอกัน
มีชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
เป็นผู้หลุดพ้นจากสังโยชน์ทั้งปวงเที่ยวไปอยู่
เขมสูตรที่ 7 จบ
8. อินทริยสังวรสูตร
ว่าด้วยอินทรียสังวร1
[50] ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออินทรียสังวรไม่มี ศีลของบุคคลผู้มีอินทรียสังวร-
วิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อศีลไม่มี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีศีลวิบัติ ชื่อว่า
มีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะ2ของบุคคลผู้มีสัมมา-
สมาธิวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาและ
วิราคะ3ของบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทา
และวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะ4ของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ชื่อว่ามี
เหตุถูกขจัดแล้ว

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงการปิดกั้น การคุ้มครอง สำรวมระวังทวารทั้ง 6 (ที.ม.อ. 365/351)
2 ยถาภูตญาณทัสสนะ หมายถึงตรุณวิปัสสนาญาณ คือ วิปัสสนาที่ยังอ่อนกำลัง เป็นความรู้ขั้วต่อที่ตัดแยก
ระหว่างความเป็นปุถุชนกับความเป็นอริยบุคคล ยังไม่ใช่ความรู้ขั้นสูดท้าย (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/50/129)
3 นิพพิทา หมายถึงพลววิปัสสนา วิราคะ หมายถึงอริยมรรค (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/50/129)
4 วิมุตติญาณทัสสนะ เป็นความรู้ขั้นสุดท้าย แยกอธิบายว่า วิมุตติ หมายถึงอรหัตตผลหรือพระสัพพัญญุต-
ญาณ ญาณทัสสนะ หมายถึงปัจจเวกขณญาณ คือญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวนมรรคผล กิเลสที่
ละได้และนิพพาน (องฺ.ติก.อ. 2/75/226, 104/257, องฺ.ฉกฺก.อ. 3/50/129)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :518 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. ธัมมิกวรรค 9. อานันทสูตร
เมื่ออินทรียสังวรไม่มี ศีลของบุคคลผู้มีอินทรียสังวรวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูก
ขจัดแล้ว ฯลฯ วิมุตติญาณทัสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูก
ขจัดแล้ว เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของ
ต้นไม้นั้น ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉันนั้น
เมื่ออินทรียสังวรมี ศีลของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรียสังวร ชื่อว่ามีเหตุ
สมบูรณ์ เมื่อศีลมี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
เมื่อสัมมาสมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ ชื่อว่า
มีเหตุสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์
ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อนิพพิทาและวิราคะมี วิมุตติ-
ญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออินทรียสังวรมี ศีลของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรียสังวร
ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ฯลฯ วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและ
วิราคะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ สะเก็ด เปลือก
กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้นย่อมถึงความสมบูรณ์
อินทริยสังวรสูตรที่ 8 จบ
9. อานันทสูตร
ว่าด้วยคุณธรรมของพระอานนท์
[51] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนา
ปราศัย พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถาม
ท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร ภิกษุได้ฟังธรรมที่ยังไม่เคยฟัง ธรรมที่ภิกษุนั้นเคยฟังแล้วไม่ถึง
ความเลอะเลือน ธรรมที่ภิกษุนั้นเคยสัมผัสด้วยใจมาก่อน ปรากฏแก่เธอ และภิกษุ
นั้นย่อมรู้ธรรมที่ยังไม่เคยรู้ด้วยเหตุเท่าไรหนอ”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ท่านอานนท์ เป็นพหูสูต เฉพาะท่านอานนท์เท่านั้น
ที่จะอธิบายเนื้อความแห่งภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :519 }