เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. ธัมมิกวรรค 8. อินทริยสังวรสูตร
โมฆบุรุษ บางพวกในธรรมวินัยนี้ เหมือนจะร่าเริงกล่าวพยากรณ์อรหัตตผลอยู่ เขา
เหล่านั้นย่อมถึงความคับแค้นในภายหลัง
พระขีณาสพทั้งหลาย
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบเทียบกับบุคคลที่ดีกว่า
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบเทียบกับบุคคลที่ด้อยกว่า
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบเทียบกับบุคคลที่เสมอกัน
มีชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
เป็นผู้หลุดพ้นจากสังโยชน์ทั้งปวงเที่ยวไปอยู่
เขมสูตรที่ 7 จบ
8. อินทริยสังวรสูตร
ว่าด้วยอินทรียสังวร1
[50] ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออินทรียสังวรไม่มี ศีลของบุคคลผู้มีอินทรียสังวร-
วิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อศีลไม่มี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีศีลวิบัติ ชื่อว่า
มีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะ2ของบุคคลผู้มีสัมมา-
สมาธิวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาและ
วิราคะ3ของบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทา
และวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะ4ของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ชื่อว่ามี
เหตุถูกขจัดแล้ว

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงการปิดกั้น การคุ้มครอง สำรวมระวังทวารทั้ง 6 (ที.ม.อ. 365/351)
2 ยถาภูตญาณทัสสนะ หมายถึงตรุณวิปัสสนาญาณ คือ วิปัสสนาที่ยังอ่อนกำลัง เป็นความรู้ขั้วต่อที่ตัดแยก
ระหว่างความเป็นปุถุชนกับความเป็นอริยบุคคล ยังไม่ใช่ความรู้ขั้นสูดท้าย (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/50/129)
3 นิพพิทา หมายถึงพลววิปัสสนา วิราคะ หมายถึงอริยมรรค (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/50/129)
4 วิมุตติญาณทัสสนะ เป็นความรู้ขั้นสุดท้าย แยกอธิบายว่า วิมุตติ หมายถึงอรหัตตผลหรือพระสัพพัญญุต-
ญาณ ญาณทัสสนะ หมายถึงปัจจเวกขณญาณ คือญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวนมรรคผล กิเลสที่
ละได้และนิพพาน (องฺ.ติก.อ. 2/75/226, 104/257, องฺ.ฉกฺก.อ. 3/50/129)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :518 }