เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. ธัมมิกวรรค 7. เขมสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำ1เสร็จแล้ว ปลงภาระ2ได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน3โดยลำดับแล้ว
สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ4 ภิกษุนั้นไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ผู้ที่
ประเสริฐกว่าเรามีอยู่’ ว่า ‘ผู้ที่เสมอกับเรามีอยู่’ หรือว่า ‘ผู้ที่ด้อยกว่าเรามีอยู่”
เมื่อท่านพระเขมะกราบทูลแล้วอย่างนี้ พระศาสดาทรงพอพระทัย ลำดับนั้น
ท่านพระเขมะรู้ว่า ‘พระศาสดาทรงพอพระทัยเรา’ จึงลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วหลีกไป
ครั้งนั้นแล เมื่อท่านพระเขมะหลีกไปไม่นาน ท่านพระสุมนะได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน
โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นไม่มีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘ผู้ที่ประเสริฐกว่าเราไม่มี’ ว่า ‘ผู้ที่เสมอกับเราไม่มี’ หรือว่า ‘ผู้ที่ด้อย
กว่าเราไม่มี”
เมื่อท่านพระสุมนะกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ลำดับนั้น
ท่านพระสุมนะรู้ว่า ‘พระศาสดาทรงพอพระทัยเรา’ จึงลุกจากอาสนะถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วหลีกไป
ครั้งนั้นแล เมื่อท่านพระเขมะและท่านพระสุมนะหลีกไปไม่นาน พระผู้มี
พระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรทั้งหลาย
พยากรณ์อรหัตตผลอย่างนี้ กล่าวแต่เนื้อความ และไม่น้อมตนเข้าไปหา ส่วน

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 2 ปัญจกนิบาต ข้อ 56 (อุปัชฌายสูตร) หน้า 98 ในเล่มนี้
2 ภาระ ในที่นี้หมายถึงภาระคือขันธ์ ภาระคือกิเลส และภาระคืออภิสังขาร (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/49/128)
3 ประโยชน์ตน ในที่นี้หมายถึงพระอรหัตตผล ที่เรียกว่า ประโยชน์ตน เพราะมีนัย 3 ประการ คือ (1) เพราะ
เกี่ยวข้องกับโยนิโสมนสิการของตน (2) เพราะไม่ละตนโดยนับเนื่องในสันดานของตน (3) เพราะเป็นประโยชน์
สูงสุดสำหรับตน (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/49/128)
4 รู้โดยชอบ หมายถึงรู้อริยสัจ 4 มีทุกข์เป็นต้นตามความเป็นจริง ด้วยมัคคปัญญา (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา 3/49/
142)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :517 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. ธัมมิกวรรค 8. อินทริยสังวรสูตร
โมฆบุรุษ บางพวกในธรรมวินัยนี้ เหมือนจะร่าเริงกล่าวพยากรณ์อรหัตตผลอยู่ เขา
เหล่านั้นย่อมถึงความคับแค้นในภายหลัง
พระขีณาสพทั้งหลาย
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบเทียบกับบุคคลที่ดีกว่า
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบเทียบกับบุคคลที่ด้อยกว่า
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบเทียบกับบุคคลที่เสมอกัน
มีชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
เป็นผู้หลุดพ้นจากสังโยชน์ทั้งปวงเที่ยวไปอยู่
เขมสูตรที่ 7 จบ
8. อินทริยสังวรสูตร
ว่าด้วยอินทรียสังวร1
[50] ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออินทรียสังวรไม่มี ศีลของบุคคลผู้มีอินทรียสังวร-
วิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อศีลไม่มี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีศีลวิบัติ ชื่อว่า
มีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะ2ของบุคคลผู้มีสัมมา-
สมาธิวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาและ
วิราคะ3ของบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทา
และวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะ4ของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ชื่อว่ามี
เหตุถูกขจัดแล้ว

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงการปิดกั้น การคุ้มครอง สำรวมระวังทวารทั้ง 6 (ที.ม.อ. 365/351)
2 ยถาภูตญาณทัสสนะ หมายถึงตรุณวิปัสสนาญาณ คือ วิปัสสนาที่ยังอ่อนกำลัง เป็นความรู้ขั้วต่อที่ตัดแยก
ระหว่างความเป็นปุถุชนกับความเป็นอริยบุคคล ยังไม่ใช่ความรู้ขั้นสูดท้าย (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/50/129)
3 นิพพิทา หมายถึงพลววิปัสสนา วิราคะ หมายถึงอริยมรรค (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/50/129)
4 วิมุตติญาณทัสสนะ เป็นความรู้ขั้นสุดท้าย แยกอธิบายว่า วิมุตติ หมายถึงอรหัตตผลหรือพระสัพพัญญุต-
ญาณ ญาณทัสสนะ หมายถึงปัจจเวกขณญาณ คือญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวนมรรคผล กิเลสที่
ละได้และนิพพาน (องฺ.ติก.อ. 2/75/226, 104/257, องฺ.ฉกฺก.อ. 3/50/129)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :518 }