เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. ธัมมิกวรรค 7. เขมสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำ1เสร็จแล้ว ปลงภาระ2ได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน3โดยลำดับแล้ว
สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ4 ภิกษุนั้นไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ผู้ที่
ประเสริฐกว่าเรามีอยู่’ ว่า ‘ผู้ที่เสมอกับเรามีอยู่’ หรือว่า ‘ผู้ที่ด้อยกว่าเรามีอยู่”
เมื่อท่านพระเขมะกราบทูลแล้วอย่างนี้ พระศาสดาทรงพอพระทัย ลำดับนั้น
ท่านพระเขมะรู้ว่า ‘พระศาสดาทรงพอพระทัยเรา’ จึงลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วหลีกไป
ครั้งนั้นแล เมื่อท่านพระเขมะหลีกไปไม่นาน ท่านพระสุมนะได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน
โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นไม่มีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘ผู้ที่ประเสริฐกว่าเราไม่มี’ ว่า ‘ผู้ที่เสมอกับเราไม่มี’ หรือว่า ‘ผู้ที่ด้อย
กว่าเราไม่มี”
เมื่อท่านพระสุมนะกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ลำดับนั้น
ท่านพระสุมนะรู้ว่า ‘พระศาสดาทรงพอพระทัยเรา’ จึงลุกจากอาสนะถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วหลีกไป
ครั้งนั้นแล เมื่อท่านพระเขมะและท่านพระสุมนะหลีกไปไม่นาน พระผู้มี
พระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรทั้งหลาย
พยากรณ์อรหัตตผลอย่างนี้ กล่าวแต่เนื้อความ และไม่น้อมตนเข้าไปหา ส่วน

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 2 ปัญจกนิบาต ข้อ 56 (อุปัชฌายสูตร) หน้า 98 ในเล่มนี้
2 ภาระ ในที่นี้หมายถึงภาระคือขันธ์ ภาระคือกิเลส และภาระคืออภิสังขาร (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/49/128)
3 ประโยชน์ตน ในที่นี้หมายถึงพระอรหัตตผล ที่เรียกว่า ประโยชน์ตน เพราะมีนัย 3 ประการ คือ (1) เพราะ
เกี่ยวข้องกับโยนิโสมนสิการของตน (2) เพราะไม่ละตนโดยนับเนื่องในสันดานของตน (3) เพราะเป็นประโยชน์
สูงสุดสำหรับตน (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/49/128)
4 รู้โดยชอบ หมายถึงรู้อริยสัจ 4 มีทุกข์เป็นต้นตามความเป็นจริง ด้วยมัคคปัญญา (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา 3/49/
142)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :517 }