เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. ธัมมิกวรรค 4. มหาจุนทสูตร
หมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข แก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พวกภิกษุผู้ประกอบธรรมสรรเสริญพวกภิกษุผู้ประกอบธรรมเท่านั้น ไม่สรรเสริญ
พวกภิกษุผู้เพ่งฌาน พวกภิกษุผู้ประกอบธรรมไม่เลื่อมใสในพวกภิกษุผู้เพ่งฌานนั้น
และพวกภิกษุผู้เพ่งฌานก็ไม่เลื่อมใสในพวกภิกษุผู้ประกอบธรรมนั้น ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล
เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พวกภิกษุผู้เพ่งฌานสรรเสริญพวกภิกษุผู้เพ่งฌานเท่านั้น ไม่สรรเสริญพวกภิกษุ
ผู้ประกอบธรรม และพวกภิกษุผู้เพ่งฌานไม่เลื่อมใสในพวกภิกษุผู้ประกอบธรรมนั้น
และพวกภิกษุผู้ประกอบธรรมก็ไม่เลื่อมใสในพวกภิกษุผู้เพ่งฌานนั้น ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คน หมู่มาก เพื่อเกื้อกูล
เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า
‘พวกเราทั้งหลายเมื่อเป็นผู้ประกอบธรรม จักสรรเสริญพวกภิกษุผู้เพ่งฌาน’ ท่าน
ทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลผู้ถูกต้องอมตธาตุ
ด้วยกาย เป็นอัจฉริยบุคคล หาได้ยากในโลก
เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายเมื่อเป็น
ผู้เพ่งฌาน จักสรรเสริญพวกภิกษุผู้ประกอบธรรม’ ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียก
อย่างนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลผู้รู้แจ้ง เห็นอัตถบทอันลึกซึ้ง1ด้วย
ปัญญานั้น เป็นอัจฉริยบุคคล หาได้ยากในโลก
มหาจุนทสูตรที่ 4 จบ


เชิงอรรถ :
1 อัตถบทอันลึกซึ้ง หมายถึงข้อความที่มีขันธ์ ธาตุ และอายตนะ เป็นต้น (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/46/128)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :513 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. ธัมมิกวรรค 5. ปฐมสันทิฏฐิกสูตร
5. ปฐมสันทิฏฐิกสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ผู้ปฏิบัติพึงเห็นชัดด้วยตนเอง สูตรที่ 1
[47] ครั้งนั้น โมฬิยสีวกปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศัย พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘ธรรมอันผู้ปฏิบัติพึงเห็นชัดด้วย
ตนเอง ธรรมอันผู้ปฏิบัติพึงเห็นชัดด้วยตนเอง’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอันผู้
ปฏิบัติพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล1ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา
ในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ย่อมมีด้วยเหตุเพียงไรหนอ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สีวกะ ถ้าอย่างนั้น เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้
ท่านพึงพยากรณ์เรื่องนั้นตามสมควรแก่ท่าน สีวกะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร
ท่านรู้ชัดโลภะที่มีอยู่ภายในว่า ‘โลภะมีอยู่ภายในเรา’ รู้ชัดโลภะที่ไม่มีอยู่ภายในว่า
‘โลภะไม่มีอยู่ภายในเรา’ หรือไม่”
สีวกปริพาชกกราบทูลว่า “รู้ชัด พระพุทธเจ้าข้า”
“สีวกะ การที่ท่านรู้ชัดโลภะที่มีอยู่ภายในว่า ‘โลภะมีอยู่ภายในเรา’ รู้ชัดโลภะที่
ไม่มีอยู่ภายในว่า ‘โลภะไม่มีอยู่ภายในเรา’ อย่างนี้แลคือธรรมอันผู้ปฏิบัติพึงเห็นชัด
ด้วยตนเอง ฯลฯ
สีวกะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ท่านรู้ชัดโทสะที่มีอยู่ภายใน ฯลฯ โมหะ
ที่มีอยู่ภายใน ฯลฯ ธรรมที่ประกอบด้วยโลภะที่มีอยู่ภายใน ฯลฯ ธรรมที่ประกอบ
ด้วยโทสะที่มีอยู่ภายใน ฯลฯ รู้ชัดธรรมที่ประกอบด้วยโมหะที่มีอยู่ในภายในว่า
‘ธรรมที่ประกอบด้วยโมหะที่มีอยู่ภายในเรา’ รู้ชัดธรรมที่ประกอบด้วยโมหะที่ไม่มีอยู่
ภายในว่า ‘ธรรมที่ประกอบด้วยโมหะไม่มีอยู่ภายในเรา’ หรือไม่”
สีวกปริพาชกกราบทูลว่า “รู้ชัด พระพุทธเจ้าข้า”

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 1 ฉักกนิบาต ข้อ 10 หน้า 422 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :514 }