เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. ธัมมิกวรรค 4. มหาจุนทสูตร
หมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข แก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พวกภิกษุผู้ประกอบธรรมสรรเสริญพวกภิกษุผู้ประกอบธรรมเท่านั้น ไม่สรรเสริญ
พวกภิกษุผู้เพ่งฌาน พวกภิกษุผู้ประกอบธรรมไม่เลื่อมใสในพวกภิกษุผู้เพ่งฌานนั้น
และพวกภิกษุผู้เพ่งฌานก็ไม่เลื่อมใสในพวกภิกษุผู้ประกอบธรรมนั้น ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล
เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พวกภิกษุผู้เพ่งฌานสรรเสริญพวกภิกษุผู้เพ่งฌานเท่านั้น ไม่สรรเสริญพวกภิกษุ
ผู้ประกอบธรรม และพวกภิกษุผู้เพ่งฌานไม่เลื่อมใสในพวกภิกษุผู้ประกอบธรรมนั้น
และพวกภิกษุผู้ประกอบธรรมก็ไม่เลื่อมใสในพวกภิกษุผู้เพ่งฌานนั้น ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คน หมู่มาก เพื่อเกื้อกูล
เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า
‘พวกเราทั้งหลายเมื่อเป็นผู้ประกอบธรรม จักสรรเสริญพวกภิกษุผู้เพ่งฌาน’ ท่าน
ทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลผู้ถูกต้องอมตธาตุ
ด้วยกาย เป็นอัจฉริยบุคคล หาได้ยากในโลก
เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายเมื่อเป็น
ผู้เพ่งฌาน จักสรรเสริญพวกภิกษุผู้ประกอบธรรม’ ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียก
อย่างนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลผู้รู้แจ้ง เห็นอัตถบทอันลึกซึ้ง1ด้วย
ปัญญานั้น เป็นอัจฉริยบุคคล หาได้ยากในโลก
มหาจุนทสูตรที่ 4 จบ


เชิงอรรถ :
1 อัตถบทอันลึกซึ้ง หมายถึงข้อความที่มีขันธ์ ธาตุ และอายตนะ เป็นต้น (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/46/128)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :513 }