เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. ธัมมิกวรรค 3. อิณสูตร
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ เมื่อถูกเจ้าหนี้ทวง ยังไม่ให้ พวกเจ้าหนี้
ย่อมติดตาม แม้การถูกติดตามก็เป็นทุกข์ของกามโภคีบุคคลในโลก”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ ถูกเจ้าหนี้ติดตามทัน ยังไม่ทันให้
พวกเจ้าหนี้ย่อมจองจำเขา แม้การถูกจองจำก็เป็นทุกข์ของกามโภคีบุคคลในโลก”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม้ความยากจนก็เป็นทุกข์ของ
กามโภคีบุคคลในโลก แม้การกู้หนี้ก็เป็นทุกข์ของกามโภคีบุคคลในโลก แม้การใช้
ดอกเบี้ยก็เป็นทุกข์ของกามโภคีบุคคลในโลก แม้การถูกทวงก็เป็นทุกข์ของกามโภคี-
บุคคลในโลก แม้การถูกติตตามก็เป็นทุกข์ของกามโภคีบุคคลในโลก แม้การถูกจอง
จำก็เป็นทุกข์ของกามโภคีบุคคลในโลก ด้วยประการฉะนี้ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคน ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม
ไม่มีหิริในกุศลธรรม ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม ไม่มีวิริยะในกุศลธรรม ไม่มีปัญญา
ในกุศลธรรม บุคคลนี้เราก็เรียกว่า เป็นคนจนเข็ญใจยากไร้ในอริยวินัย
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลนั้นนั่นแลผู้เป็นคนจนเข็ญใจยากไร้ เมื่อไม่มีศรัทธาใน
กุศลธรรม เมื่อไม่มีหิริในกุศลธรรม เมื่อไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม เมื่อไม่มีวิริยะ
ในกุศลธรรม เมื่อไม่มีปัญญาในกุศลธรรม ย่อมประพฤติกายทุจริต ประพฤติ
วจีทุจริต ประพฤติมโนทุจริต
เรากล่าวว่าการประพฤติทุจริตเช่นนี้ของเขา เป็นการกู้หนี้
เพราะการปกปิดกายทุจริตเป็นเหตุ เขาจึงตั้งความปรารถนาอันชั่วว่า ‘ขอชน
เหล่าอื่นอย่ารู้เราเลย’ ดำริว่า ‘ขอชนเหล่าอื่นอย่ารู้เราเลย’ พูดว่า ‘ขอชนเหล่าอื่น
อย่ารู้เราเลย’ พยายามด้วยกายว่า ‘ขอชนเหล่าอื่นอย่ารู้เราเลย’
เพราะการปกปิดวจีทุจริตเป็นเหตุ เขาจึงตั้งความปรารถนาอันชั่ว ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :508 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. ธัมมิกวรรค 3. อิณสูตร
เพราะการปกปิดมโนทุจริตเป็นเหตุ เขาจึงตั้งความปรารถนาชั่วว่า ‘ขอชนเหล่า
อื่นอย่ารู้เราเลย’ ดำริว่า “ขอชนเหล่าอื่นอย่ารู้เราเลย’ พูดว่า ‘ขอชนเหล่าอื่นอย่ารู้
เราเลย’ พยายามด้วยกายว่า ‘ขอชนเหล่าอื่นอย่ารู้เราเลย’
เรากล่าวว่าการปกปิดทุจริตเป็นเหตุนั้น เป็นการใช้ดอกเบี้ย
เพื่อนพรหมจารีผู้มีศีลเป็นที่รักได้กล่าวกับบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุนี้เป็นผู้
ทำอย่างนี้ เป็นผู้ประพฤติอย่างนี้’
เรากล่าวว่าการถูกว่ากล่าวเช่นนี้ของเขา เป็นการทวงหนี้
บาปอกุศลวิตกที่ประกอบด้วยวิปปฏิสาร(ความร้อนใจ) ย่อมครอบงำบุคคล
นั้นผู้ไปสู่ป่า ไปสู่โคนไม้ หรือไปสู่เรือนว่าง
เรากล่าวว่าการถูกบาปอกุศลวิตกครอบงำเช่นนี้ของเขา เป็นการถูกติดตาม
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลนั้นนั่นแล เป็นคนจนเข็ญใจยากไร้ ครั้นประพฤติ
กายทุจริต ประพฤติวจีทุจริต และประพฤติมโนทุจริต หลังจากตายแล้วย่อมถูก
จองจำในเรือนจำคือนรก หรือในเรือนจำคือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นเรือนจำอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ร้ายกาจอย่างนี้ เป็นทุกข์
อย่างนี้ และทำอันตรายแก่การบรรลุนิพพานซึ่งเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
อย่างนี้ เหมือนเรือนจำคือนรก หรือเรือนจำคือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานนี้เลย
ความยากจน และการกู้หนี้
เราเรียกว่าเป็นทุกข์ในโลก
คนจนเมื่อกู้หนี้ใช้สอยอยู่ ย่อมเดือดร้อน
เพราะการไม่ใช้คืนนั้น พวกเจ้าหนี้จึงติดตามเขา
เขาย่อมเข้าถึงการถูกจองจำ
การถูกจองจำนั้นแลเป็นทุกข์ของหมู่ชนผู้ปรารถนากาม
ในอริยวินัย ก็เช่นเดียวกัน
ผู้ใดไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :509 }