เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. ธัมมิกวรรค 2. มิคสาลาสูตร
ท่านอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า ‘คน 2 คน คือคนหนึ่ง
ประพฤติพรหมจรรย์ อีกคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้มีคติเสมอ
เหมือนกันในสัมปรายภพ’ จะพึงรู้ได้อย่างไร’ เมื่อมิคสาลาอุบาสิกากล่าวอย่างนี้แล้ว
ข้าพระองค์จึงตอบว่า ‘น้องหญิง ข้อนี้พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ไว้แล้วอย่างนี้
เหมือนกัน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ในเรื่องญาณเป็นเครื่องกำหนดรู้อินทรีย์
แก่กล้าและอินทรีย์อ่อนของบุคคล ใครกันเล่าคือ มิคสาลาอุบาสิกาผู้เขลา ไม่ฉลาด
ไม่หลักแหลม มีปัญญาทึบ และใครกันเล่า คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีวิสัยที่ไม่มี
อะไรขัดขวางได้1
อานนท์ บุคคล 6 จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก คือ
1. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วมเป็นสุข
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน บุคคลนั้น
ไม่ทำกิจด้วยการฟัง ไม่ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต และไม่ได้แทง
ตลอดดีด้วยทิฏฐิ ไม่ได้วิมุตติตามเวลาอันควร2 หลังจากตายแล้ว
เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว
ไม่ถึงความเจริญ
2. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วมเป็นสุข
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน บุคคลนั้น
ทำกิจด้วยการฟัง ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
และได้วิมุตติตามเวลาอันควร หลังจากตายแล้วเขาย่อมไปทางเจริญ
ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม

เชิงอรรถ :
1 เนื้อความพระดำรัสนี้ พระพุทธเจ้ามีพระประสงค์จะแสดงให้เห็นว่าการที่จะเปรียบเทียบตัดสินหรือวัด
คุณสมบัติของบุคคลด้านการกำหนดรู้อินทรีย์แก่กล้าหรืออ่อนนั้น มิใช่วิสัยของมิคสาลาอุบาสิกา หรือ
สามัญชนผู้ปราศจากญาณทั่วไป แต่เป็นวิสัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีญาณวิสัยที่ไม่มีอะไรขัดขวางได้เท่านั้น
(องฺ.ฉกฺก.อ. 3/44/125)
2 ไม่ได้วิมุตติตามเวลาอันควร หมายถึงไม่ได้ปีติและปราโมทย์ที่เกิดจากการฟังธรรมตามกาลอันควร
(องฺ.ฉกฺก.อ. 3/44/125)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :504 }