เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. ธัมมิกวรรค 2. มิคสาลาสูตร
อันวิญญูชนทั้งหลายแสดงไว้แล้ว
พระอรหันต์ทั้งหลายผู้เป็นมหานาค
จักรู้แจ้งพระองค์ผู้ทรงพระนามว่านาค
ที่ท่านผู้เป็นนาคแสดงไว้แล้ว
พระองค์ผู้ทรงพระนามว่านาค
ทรงปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ
ปราศจากโมหะ ไม่มีอาสวะ
เมื่อทรงละสรีระ จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน”
นาคสูตรที่ 1 จบ

2. มิคสาลาสูตร1
ว่าด้วยอุบาสิกาชื่อมิคสาลา
[44] ครั้งนั้นในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร2
แล้วเข้าไปยังที่อยู่ของมิคสาลาอุบาสิกา นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ลำดับนั้นแล
มิคสาลาอุบาสิกาได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียน
ถามท่านดังนี้ว่า
“ท่านอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า ‘คน 2 คน คือ คนหนึ่ง
ประพฤติพรหมจรรย์ อีกคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้มีคติเสมอเหมือนกัน
ในสัมปรายภพ’ จะพึงรู้ได้อย่างไร ท่านผู้เจริญ บิดาของดิฉันชื่อว่าปุราณะ เป็นผู้
ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล งดเว้นจากเมถุน3ซึ่งเป็นธรรมของชาวบ้าน

เชิงอรรถ :
1 ดู องฺ.ทสก. (แปล) 24/75/167
2 คำว่า ครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร นี้มิใช่ว่าก่อนหน้านี้ พระอานนท์มิได้นุ่งสบง มิใช่ว่าพระอานนท์
ถือบาตรและจีวรไปโดยเปลือยกายส่วนบน แต่คำว่า ครองอันตรวาสก หมายถึงท่านผลัดเปลี่ยนสบงหรือ
ขยับสบงที่นุ่งอยู่ให้กระชับ คำว่า ถือบาตรและจีวร หมายถึงถือบาตรด้วยมือถือจีวรด้วยกาย คือห่มจีวร
แล้วอุ้มบาตรนั่นเอง (วิ.อ. 1/16/180, ที.ม.อ. 153/143, ม.มู.อ. 1/63/163,ขุ.อุ.อ. 6/65)
3 เมถุน หมายถึงอสัทธรรมซึ่งเป็นประเวณีของชาวบ้าน มารยาทของคนชั้นต่ำ กิริยาชั่วหยาบ มีน้ำเป็นที่สุด
เป็นกิจที่ต้องทำในที่ลับ ต้องทำกันสองต่อสอง ดู วิ.มหา. (แปล) 1/55/42

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :502 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. ธัมมิกวรรค 2. มิคสาลาสูตร
ท่านถึงแก่กรรมแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่าเป็นสกทาคามีบุคคลเกิดใน
หมู่เทพชั้นดุสิต
เพื่อนรักของบิดาดิฉัน ชื่อว่าอิสิทัตตะ ถึงไม่ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ถือ
สทารสันโดษ(ยินดีด้วยภรรยาของตน) แม้เขาถึงแก่กรรมแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรง
พยากรณ์ว่าเป็นสกทาคามีบุคคลเกิดในหมู่เทพชั้นดุสิต ท่านอานนท์ ธรรมนี้ที่
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า ‘คน 2 คน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ อีกคน
หนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้มีคติเสมอเหมือนกันในสัมปรายภพ’ จะพึงรู้ได้
อย่างไร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “น้องหญิง ข้อนี้พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ไว้
แล้วอย่างนี้เหมือนกัน”
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์รับบิณฑบาต ณ ที่อยู่ของมิคสาลาอุบาสิกาแล้ว
ลุกจากอาสนะหลีกไป ครั้นในเวลาหลังภัตตาหาร ท่านพระอานนท์กลับจาก
บิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่
สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์ครอง
อันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของมิคสาลาอุบาสิกา นั่งบนอาสนะที่
ปูลาดไว้ ลำดับนั้นแล นางได้เข้าไปหาข้าพระองค์ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ถามข้าพระองค์ว่า
‘ท่านอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า ‘คน 2 คน คือ คนหนึ่ง
ประพฤติพรหมจรรย์ อีกคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้มีคติเสมอเหมือนกัน
ในสัมปรายภพ’ จะพึงรู้ได้อย่างไร ท่านผู้เจริญ บิดาของดิฉันชื่อปุราณะ เป็นผู้
ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล งดเว้นจากเมถุนซึ่งเป็นธรรมของชาวบ้าน
ท่านถึงแก่กรรมแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่าเป็นสกทาคามีบุคคลเกิดใน
หมู่เทพชั้นดุสิต
เพื่อนรักของบิดาดิฉัน ชื่อว่าอิสิทัตตะ ถึงไม่ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ถือ
สทารสันโดษ แม้เขาถึงแก่กรรมแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์ว่าเป็น
สกทาคามีบุคคลเกิดในหมู่เทพชั้นดุสิต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :503 }