เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. ธัมมิกวรรค 1. นาคสูตร
พระองค์ผู้ทรงมีฌาน ทรงยินดีลมอัสสาสะปัสสาสะ1
ทรงมีจิตตั้งมั่นดีภายใน
ดำเนินไปก็ทรงมีจิตตั้งมั่น ประทับยืนก็ทรงมีจิตตั้งมั่น
บรรทมก็ทรงมีจิตตั้งมั่น ประทับนั่งก็ทรงมีจิตตั้งมั่น
ทรงสำรวมแล้วในทวารทั้งปวง
นี้เป็นสมบัติของพระองค์ผู้ทรงพระนามว่านาค
พระองค์ผู้ทรงพระนามว่านาค
เสวยแต่สิ่งที่ไม่มีโทษ ไม่เสวยสิ่งที่มีโทษ
ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่มแล้ว
ทรงเว้นการสะสม
ทรงตัดสังโยชน์เครื่องผูกพันน้อยใหญ่ทั้งปวงได้
จะเสด็จไป ณ ที่ใด ๆ ก็ไม่มีความห่วงใยเสด็จไปในที่นั้น ๆ
ดอกบัวขาว มีกลิ่นหอม
น่ารื่นรมย์ใจ เกิดในน้ำ
เจริญในน้ำ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำ ฉันใด
พระองค์ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ทรงอุบัติดีแล้วในโลก เป็นพระพุทธเจ้าในโลก
แต่ไม่ติดอยู่กับโลก
เหมือนดอกบัวหลวงไม่เปียกน้ำ ฉะนั้น
ไฟกองใหญ่ลุกโชนโชติช่วง
ย่อมดับเพราะหมดเชื้อ ฉันใด
พระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อสังขารทั้งหลายสงบระงับไปแล้ว
ชาวโลกก็เรียกกันว่าทรงนิพพานแล้ว
ข้ออุปมาที่ให้รู้เนื้อความชัดแจ้งนี้

เชิงอรรถ :
1 ลมอัสสาสะปัสสาสะ ในที่นี้หมายถึงผลสมาบัติ (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/43/124)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :501 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. ธัมมิกวรรค 2. มิคสาลาสูตร
อันวิญญูชนทั้งหลายแสดงไว้แล้ว
พระอรหันต์ทั้งหลายผู้เป็นมหานาค
จักรู้แจ้งพระองค์ผู้ทรงพระนามว่านาค
ที่ท่านผู้เป็นนาคแสดงไว้แล้ว
พระองค์ผู้ทรงพระนามว่านาค
ทรงปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ
ปราศจากโมหะ ไม่มีอาสวะ
เมื่อทรงละสรีระ จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน”
นาคสูตรที่ 1 จบ

2. มิคสาลาสูตร1
ว่าด้วยอุบาสิกาชื่อมิคสาลา
[44] ครั้งนั้นในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร2
แล้วเข้าไปยังที่อยู่ของมิคสาลาอุบาสิกา นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ลำดับนั้นแล
มิคสาลาอุบาสิกาได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียน
ถามท่านดังนี้ว่า
“ท่านอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า ‘คน 2 คน คือ คนหนึ่ง
ประพฤติพรหมจรรย์ อีกคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้มีคติเสมอเหมือนกัน
ในสัมปรายภพ’ จะพึงรู้ได้อย่างไร ท่านผู้เจริญ บิดาของดิฉันชื่อว่าปุราณะ เป็นผู้
ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล งดเว้นจากเมถุน3ซึ่งเป็นธรรมของชาวบ้าน

เชิงอรรถ :
1 ดู องฺ.ทสก. (แปล) 24/75/167
2 คำว่า ครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร นี้มิใช่ว่าก่อนหน้านี้ พระอานนท์มิได้นุ่งสบง มิใช่ว่าพระอานนท์
ถือบาตรและจีวรไปโดยเปลือยกายส่วนบน แต่คำว่า ครองอันตรวาสก หมายถึงท่านผลัดเปลี่ยนสบงหรือ
ขยับสบงที่นุ่งอยู่ให้กระชับ คำว่า ถือบาตรและจีวร หมายถึงถือบาตรด้วยมือถือจีวรด้วยกาย คือห่มจีวร
แล้วอุ้มบาตรนั่นเอง (วิ.อ. 1/16/180, ที.ม.อ. 153/143, ม.มู.อ. 1/63/163,ขุ.อุ.อ. 6/65)
3 เมถุน หมายถึงอสัทธรรมซึ่งเป็นประเวณีของชาวบ้าน มารยาทของคนชั้นต่ำ กิริยาชั่วหยาบ มีน้ำเป็นที่สุด
เป็นกิจที่ต้องทำในที่ลับ ต้องทำกันสองต่อสอง ดู วิ.มหา. (แปล) 1/55/42

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :502 }