เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. ธัมมิกวรรค 1. นาคสูตร
ผู้ทรงยินดีในความสงบแห่งจิต1
ผู้ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง2
แม้เทวดาทั้งหลายก็นอบน้อมพระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้ทรงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวงได้
ทรงบรรลุนิพพานซึ่งเป็นทางออกจากป่าคือกิเลส
ผู้ทรงยินดีในเนกขัมมะ3
ผู้หลุดพ้นแล้ว เหมือนทองคำที่พ้นจากหิน
พระองค์ผู้ทรงพระนามว่านาค รุ่งเรืองล่วงสรรพสัตว์
เหมือนภูเขาหิมพานต์ที่สูงกว่าภูเขาลูกอื่น ๆ
พระองค์ผู้ทรงพระนามว่านาคอันเป็นพระนามจริง
ที่ยอดเยี่ยมกว่าเทวดาผู้มีนามว่านาคทุกจำพวก
ข้าพระองค์จักประกาศพระองค์ผู้ทรงพระนามว่านาค
เพราะพระองค์ไม่ทรงทำความชั่ว
พระองค์ผู้ทรงพระนามว่านาค
ทรงมีโสรัจจะและอวิหิงสาเป็นเท้าหน้าทั้งสอง
ทรงมีตบะและพรหมจรรย์ เป็นเท้าหลังทั้งสอง
ทรงเป็นดุจช้างตัวประเสริฐ
ทรงมีศรัทธาเป็นงวง มีอุเบกขาเป็นงาขาว
มีสติเป็นคอ มีปัญญาเป็นเศียร
มีการสอดส่องธรรมเป็นปลายงวง
มีธรรมเครื่องเผากิเลสเป็นท้อง มีวิเวกเป็นหาง

เชิงอรรถ :
1 ยินดีในความสงบแห่งจิต หมายถึงยินดีในความสงบแห่งจิตที่ระงับนิวรณ์ 5 ได้ด้วยปฐมฌาน ระงับ
วิตกวิจารได้ด้วยทุติยฌาน ระงับปีติได้ด้วยตติยฌาน ระงับสุขและทุกข์ได้ด้วยจตุตถฌาน (องฺ.ฉกฺก.อ.
3/43/122)
2 ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง หมายถึงรู้ยิ่ง กำหนดรู้ ละ เจริญ ทำให้แจ้ง และเข้าถึงธรรมทั้งปวง คือ ขันธ์ 5
อายตนะ 12 ธาตุ 18 (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/43/122)
3 เนกขัมมะ หมายถึงบรรพชา สมาบัติ และอริยมรรค เพราะเป็นเครื่องออกจากกาม 2 ประเภท คือกิเลสกาม
และวัตถุกาม (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/43/122)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :500 }