เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 4. เทวตาวรรค 12. นาคิตสูตร
นาคิตะ
1. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ในเสนาสนะใกล้หมู่บ้าน มีสมาธิ
นั่งอยู่ เรามีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ คนวัดจักรบกวนท่านผู้นี้
หรือสมณุทเทส1จักทำให้ท่านเคลื่อนจากสมาธิ’ เพราะเหตุนั้น เรา
จึงไม่ยินดีการอยู่ในเสนาสนะใกล้บ้านของภิกษุนั้น
2. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร นั่งโงกง่วงอยู่ในป่า เรา
มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ ท่านผู้นี้จักบรรเทาความลำบากคือการ
หลับนี้ แล้วมนสิการความกำหนดหมายว่าป่าเป็นเอกัคคตารมณ์’
เพราะเหตุนั้น เราจึงยินดีการอยู่ในป่าของภิกษุนั้น
3. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ไม่มีสมาธินั่งอยู่ในป่า
เรามีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ ท่านผู้นี้จักตั้งจิตที่ไม่เป็นสมาธิ
ให้เป็นสมาธิ หรือจักตามรักษาจิตที่เป็นสมาธิไว้’ เพราะเหตุนั้น
เราจึงยินดีการอยู่ในป่าของภิกษุนั้น
4. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร มีสมาธินั่งอยู่ในป่า
เรามีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ ท่านผู้นี้จักเปลื้องจิตที่ยังไม่หลุดพ้น
ให้หลุดพ้น2 หรือว่าจักตามรักษาจิตที่หลุดพ้นแล้วไว้ได้’ เพราะ
เหตุนั้น เราจึงยินดีการอยู่ในป่าของภิกษุนั้น
5. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ในเสนาสนะใกล้บ้าน ได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เธอพอใจลาภสักการะและ
การสรรเสริญนั้น ละทิ้งการหลีกเร้น ละทิ้งเสนาสนะอันเงียบสงัด
คือป่าโปร่งและป่าทึบ หรือเข้ามารวมกันอยู่ยังหมู่บ้าน ตำบล และ

เชิงอรรถ :
1 สมณุทเทส หมายถึงสามเณร (วิ.มหา. (แปล) 2/430/540)
2 หมายถึงให้หลุดพ้นด้วยวิมุตติ 5 ประการ มีตทังควิมุตติ เป็นต้น (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/42/119, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา
3/42/133)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :496 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 4. เทวตาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
เมืองหลวง’ เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่ยินดีการอยู่ในเสนาสนะใกล้หมู่
บ้านของภิกษุนั้น
6. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เธอสลัดลาภสักการะ
และการสรรเสริญนั้น ไม่ละทิ้งการหลีกเร้น ไม่ละทิ้งเสนาสนะ
อันเงียบสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบ’ เพราะเหตุนั้น เราจึงยินดีการ
อยู่ในป่าของภิกษุนั้น
อนึ่ง สมัยใด เราเดินทางไกล ไม่เห็นใครข้างหน้าหรือข้างหลัง สมัยนั้น เราย่อม
มีความผาสุก โดยที่สุด แม้ด้วยการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ”
นาคิตสูตรที่ 12 จบ
เทวตาวรรคที่ 4 จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. เสขสูตร 2. ปฐมอปริหานสูตร
3. ทุติยอปริหานสูตร 4. มหาโมคคัลลานสูตร
5. วิชชาภาคิยสูตร 6. วิวาทมูลสูตร
7. ทานสูตร 8. อัตตการีสูตร
9. นิทานสูตร 10. กิมมิลสูตร
11. ทารุกขันธสูตร 12. นาคิตสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :497 }