เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 4. เทวตาวรรค 10. กิมมิลสูตร
3. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสงฆ์
4. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสิกขา
5. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในความไม่ประมาท
6. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในปฏิสันถาร
กิมมิละ นี้แล เป็นเหตุปัจจัยให้สัทธรรมไม่ดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อตถาคต
ปรินิพพานแล้ว”
ท่านกิมมิละทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุปัจจัยให้
พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “กิมมิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้
1. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในศาสดา
2. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในธรรม
3. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในสงฆ์
4. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในสิกขา
5. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในความไม่ประมาท
6. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในปฏิสันถาร
กิมมิละ นี้แล เป็นเหตุปัจจัยให้สัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อตถาคต
ปรินิพพานแล้ว”
กิมมิลสูตรที่ 10 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :492 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 4. เทวตาวรรค 11. ทารุกขันธสูตร
11. ทารุกขันธสูตร
ว่าด้วยกองฟืน
[41] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ1 เขตกรุงราชคฤห์
ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ พร้อมด้วยภิกษุจำนวนมาก ได้เห็นกองฟืนใหญ่ในที่แห่งหนึ่ง จึงถามภิกษุ
ทั้งหลายว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเห็นกองฟืนใหญ่โน้นหรือไม่”
ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า “เห็น ผู้มีอายุ”
ท่านพระสารีบุตรจึงกล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย
1. ภิกษุผู้มีฤทธิ์ บรรลุความชำนาญทางใจ เมื่อต้องการ พึงน้อมจิตถึง
กองฟืนโน้นว่า ‘ดิน’ ก็ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะที่กองฟืนโน้นมี
ปฐวีธาตุ(ธาตุดิน)อยู่ ซึ่งภิกษุผู้มีฤทธิ์ บรรลุความชำนาญทางใจ
จะพึงอาศัยน้อมจิตถึงกองฟืนโน้นว่า ‘ดิน’
2. ภิกษุผู้มีฤทธิ์ บรรลุความชำนาญทางใจ เมื่อต้องการ พึงน้อมจิต
ถึงกองฟืนโน้นว่า ‘น้ำ’ ฯลฯ
3. ภิกษุผู้มีฤทธิ์ บรรลุความชำนาญทางใจ เมื่อต้องการ พึงน้อมจิต
ถึงกองฟืนโน้นว่า ‘ไฟ’ ฯลฯ
4. ภิกษุผู้มีฤทธิ์ บรรลุความชำนาญทางใจ เมื่อต้องการ พึงน้อมจิต
ถึงกองฟืนโน้นว่า ‘ลม’ ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 คิชฌกูฏ มี 2 ความหมาย คือ (1) มีความหมายว่า ยอดแร้ง เพราะเป็นที่อยู่อาศัยของฝูงแร้ง
(2) มีความหมายว่า ยอดคล้ายแร้ง เพราะมียอดคล้ายศีรษะของแร้ง (วิ.อ. 1/84/307)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :493 }