เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 4. เทวตาวรรค 9. นิทานสูตร
9. นิทานสูตร
ว่าด้วยเหตุให้เกิดกรรม
[39] ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ชั่ว) 3 ประการนี้
เหตุให้เกิดกรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. โลภะ(ความอยากได้)เป็นเหตุให้เกิดกรรม
2. โทสะ(ความคิดประทุษร้าย)เป็นเหตุให้เกิดกรรม
3. โมหะ(ความหลง)เป็นเหตุให้เกิดกรรม
ภิกษุทั้งหลาย อโลภะไม่เกิดขึ้นเพราะโลภะ แท้จริง โลภะเท่านั้นเกิดขึ้นเพราะ
โลภะ
อโทสะไม่เกิดขึ้นเพราะโทสะ แท้จริง โทสะเท่านั้นเกิดขึ้นเพราะโทสะ
อโมหะไม่เกิดขึ้นเพราะโมหะ แท้จริง โมหะเท่านั้นเกิดขึ้นเพราะโมหะ
เทวดา มนุษย์ หรือแม้สุคติอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ปรากฏเพราะกรรมที่เกิดจาก
โลภะ เพราะกรรมที่เกิดจากโทสะ และเพราะกรรมที่เกิดจากโมหะ
แท้จริงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน แดนเปรต หรือแม้ทุคติอย่างใดอย่างหนึ่ง
ย่อมปรากฏเพราะกรรมที่เกิดจากโลภะ เพราะกรรมที่เกิดจากโทสะ และเพราะกรรม
ที่เกิดจากโมหะ
ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม 3 ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม (ดี) 3 ประการนี้
เหตุให้เกิดกรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อโลภะ(ความไม่อยากได้)เป็นเหตุให้เกิดกรรม
2. อโทสะ(ความไม่คิดประทุษร้าย)เป็นเหตุให้เกิดกรรม
3. อโมหะ(ความไม่หลง)เป็นเหตุให้เกิดกรรม
ภิกษุทั้งหลาย โลภะไม่เกิดขึ้นเพราะอโลภะ แท้จริง อโลภะเท่านั้นเกิดขึ้นเพราะ
อโลภะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :490 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 4. เทวตาวรรค 10. กิมมิลสูตร
โทสะไม่เกิดขึ้นเพราะอโทสะ แท้จริง อโทสะเท่านั้นเกิดขึ้นเพราะอโทสะ
โมหะไม่เกิดขึ้นเพราะอโมหะ แท้จริง อโมหะเท่านั้นเกิดขึ้นเพราะอโมหะ
นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน แดนเปรต หรือแม้ทุคติอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ปรากฏ
เพราะกรรมที่เกิดจากอโลภะ เพราะกรรมที่เกิดจากอโทสะ และเพราะกรรมที่เกิด
จากอโมหะ
แท้จริง เทวดา มนุษย์ทั้งหลาย หรือแม้สุคติอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมปรากฏ
เพราะกรรมที่เกิดจากอโลภะ เพราะกรรมที่เกิดจากอโทสะ และเพราะกรรมที่เกิด
จากอโมหะ
ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม 3 ประการนี้แล
นิทานสูตรที่ 9 จบ
10. กิมมิลสูตร
ว่าด้วยท่านพระกิมมิละ
[40] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าไผ่ เขตเมืองกิมมิลา ครั้งนั้น
ท่านพระกิมมิละเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่
สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ
เป็นเหตุปัจจัยให้พระสัทธรรมไม่ดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “กิมมิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้
1. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในศาสดา
2. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :491 }