เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 4. เทวตาวรรค 8. อัตตการีสูตร
ทายกต้อนรับปฏิคาหกด้วยตนเอง
ถวายทานด้วยมือตนเอง
ยัญนั้นย่อมมีผลมาก
เพราะตน (ทายกผู้ให้ทาน) และเพราะผู้อื่น (ปฏิคาหก)
เป็นบัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์ มีศรัทธา
มีใจพ้นแล้ว1บูชายัญอย่างนี้
ย่อมเข้าถึงโลกที่ปราศจากความเบียดเบียนเป็นสุข
ทานสูตรที่ 7 จบ
8. อัตตการีสูตร
ว่าด้วยอัตตการ
[38] ครั้งนั้นแล พราหมณ์คนหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัย พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
‘ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ไม่มีอัตตการ
(มีตนเป็นตัวการ) ไม่มีปรการ2(มีสิ่งอื่นเป็นตัวการ)’
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ เราไม่เคยได้เห็นไม่เคยได้ฟังคำของบุคคล
ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้เลย ก็บุคคลเมื่อก้าวไปข้างหน้าเองได้ ถอยกลับ
เองได้ ไฉนจึงจักกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ไม่มีอัตตการ ไม่มีปรการ’ พราหมณ์
ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร อารัพภธาตุ3มีอยู่หรือไม่”

เชิงอรรถ :
1 มีใจพ้นแล้ว หมายถึงมีใจพ้นจากความตระหนี่ลาภเป็นต้น (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/37/118)
2 พราหมณ์พูดตามลัทธิมักขลิโคศาลที่ถือว่าสัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์ หรือเศร้าหมองเอง ไม่ใช่ตัวเองเป็นตัวการ
และไม่ใช่เพราะสิ่งอื่นเป็นตัวการ ดู ที.สี. (แปล) 9/168/54-56, ที.สี.อ. 168/146 คำว่า อัตตการ
และปรการนี้ บางทีใช้ในความหมายเดียวกับสยังกตา ปรังกตา ดู สํ.นิ. 16/17/19, สํ.นิ.อ. 2/17/40
3 อารัพภธาตุ หมายถึงความเพียรริเริ่มในการทำความดี เป็นธรรมเครื่องป้องกันถีนมิทธะ(ความหดหู่และ
เซื่องซึม)มิให้เกิดขึ้นและกำจัดถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/38/118, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา 3/38-41/
133) และดู ที.ปา. 11/335/225, องฺ.เอกก. (แปล) 20/18/4 ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :488 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 4. เทวตาวรรค 8. อัตตการีสูตร
พราหมณ์กราบทูลว่า “มี ท่านพระโคดม”
“เมื่อมีอารัพภธาตุ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเพียรริเริ่มยังมีปรากฏอยู่หรือไม่”
“ยังมีปรากฏ ท่านพระโคดม”
“พราหมณ์ การที่เมื่อมีอารัพภธาตุ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเพียรริเริ่มยังมี
ปรากฏอยู่ นี้แลคืออัตตการ นี้แลคือปรการของสัตว์ทั้งหลาย’
พราหมณ์ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร นิกกมธาตุมีอยู่หรือไม่ ฯลฯ ปรักกมธาตุ
มีอยู่หรือไม่ ฯลฯ ถามธาตุมีอยู่หรือไม่ ฯลฯ ธิติธาตุมีอยู่หรือไม่ ฯลฯ อุปักกมธาตุ1
มีอยู่หรือไม่ ฯลฯ”
“มี ท่านพระโคดม”
“พราหมณ์ เมื่อมีอุปักกมธาตุ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความพยายามยังมีปรากฏอยู่
หรือไม่”
“ยังมีปรากฏ ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ การที่เมื่อมีอุปักกมธาตุ สัตว์ทั้งหลายผู้มี
ความพยายามยังมีปรากฏอยู่ นี้แลคืออัตตการ นี้แลคือปรการของสัตว์ทั้งหลาย
พราหมณ์ เราไม่เคยได้เห็นไม่เคยได้ฟังคำของบุคคลผู้มีวาทะอย่างนี้ ผู้มีทิฏฐิ
อย่างนี้เลย ก็บุคคลเมื่อก้าวไปข้างหน้าเองได้ ถอยกลับเองได้ ไฉนจึงจักกล่าว
อย่างนี้ว่า ‘ไม่มีอัตตการ ไม่มีปรการ”
พราหมณ์กราบทูลว่า ‘ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะ
ยิ่งนัก ฯลฯ ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
อัตตการีสูตรที่ 8 จบ

เชิงอรรถ :
1 นิกกมธาตุ หมายถึงสภาวะที่พากเพียรออกจากความเกียจคร้าน
ปรักกมธาตุ หมายถึงสภาวะที่บากบั่นรุดไปข้างหน้าไม่หยุดหย่อน
ถามธาตุ หมายถึงสภาวะที่มีพลังเข้มแข็ง
ธิติธาตุ หมายถึงสภาวะที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
อุปักกมธาตุ หมายถึงสภาวะที่มีความพยายาม
ธาตุทั้งหมดนี้เป็นชื่อของ วิริยะ ที่มีอาการต่างกัน (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/38/118, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา 3/38-
41/133)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :489 }