เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 4. เทวตาวรรค 6. วิวาทมูลสูตร
2. เป็นผู้ลบหลู่ ตีเสมอ ฯลฯ
3. เป็นผู้ริษยา มีความตระหนี่ ฯลฯ
4. เป็นผู้โอ้อวด มีมายา ฯลฯ
5. เป็นผู้มีความปรารถนาชั่วเป็นมิจฉาทิฏฐิ1 ฯลฯ
6. เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใด เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น
สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก ภิกษุนั้นย่อมไม่มีความเคารพ ไม่มีความ
ยำเกรงแม้ในศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงแม้
ในธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงแม้ในพระสงฆ์ และไม่
ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มี
ความยำเกรงในศาสดา ฯลฯ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ย่อมก่อการ
วิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อ
ไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่
เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย
ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ ทั้งภายในหรือ
ภายนอก เธอทั้งหลายพึงพยายามเพื่อละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็น
บาปนั้นแลทั้งภายในหรือภายนอกนั้น ถ้าเธอทั้งหลายไม่พิจารณา
เห็นมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ ทั้งภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลาย
พึงปฏิบัติเพื่อให้มูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้นแลไม่ยืดเยื้อต่อไป
การละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้นแลย่อมมีได้ และมูลเหตุแห่ง
วิวาทที่เป็นบาปนั้น ย่อมไม่ยืดเยื้อต่อไป
ภิกษุทั้งหลาย มูลเหตุแห่งวิวาท 6 ประการ นี้แล
วิวาทมูลสูตรที่ 6 จบ

เชิงอรรถ :
1 เป็นมิจฉาทิฏฐิ หมายถึงเป็นมิจฉาทิฏฐิบุคคลประเภทนัตถิกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล)
อเหตุกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าไม่มีเหตุปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย) และอกิริยวาทะ (ลัทธิที่ถือว่า
การกระทำทุกอย่างไม่มีผล ทำดีก็ไม่ได้ดี ทำชั่วก็ไม่ได้ชั่ว เป็นความเห็นที่ปฏิเสธกฎแห่งกรรม) (องฺ.ฉกฺก.อ.
3/36/117) และดู ที.สี. (แปล) 9/165/53, 167/54,173/57

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :485 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 4. เทวตาวรรค 7. ทานสูตร
7. ทานสูตร
ว่าด้วยองค์แห่งทักษิณาทาน
[37] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น อุบาสิกาชื่อนันทมาตา ชาวเมือง
เวฬุกัณฑกะ ถวายทักษิณาอันประกอบด้วยองค์ 6 ในหมู่ภิกษุมีพระสารีบุตรและ
พระโมคคัลลานะเป็นประธาน พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นอุบาสิกาชื่อนันทมาตา
ชาวเมืองเวฬุกัณฑกะนั้นแล้ว จึงรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย
อุบาสิกาชื่อนันทมาตาชาวเมืองเวฬุกัณฑกะนั้น ถวายทานอันประกอบด้วยองค์ 6
ในหมู่ภิกษุมีสารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นประธาน
ทักษิณาอันประกอบด้วยองค์ 6 เป็นอย่างไร
คือ ฝ่ายทายก(ผู้ให้)มีองค์ 3 ประการ ฝ่ายปฏิคาหก (ผู้รับ) มีองค์ 3 ประการ
องค์ 3 ประการ ของทายก อะไรบ้าง คือ
ทายกในธรรมวินัยนี้
1. ก่อนให้ก็มีใจดี
2. กำลังให้ก็ทำจิตให้เลื่อมใส
3. ครั้นให้แล้วก็มีใจเบิกบาน
นี้คือองค์ 3 ประการ ของทายก
องค์ 3 ประการ ของปฏิคาหก อะไรบ้าง คือ
ปฏิคาหกในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้ปราศจากราคะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ
2. เป็นผู้ปราศจากโทสะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ
3. เป็นผู้ปราศจากโมหะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะ
นี้คือองค์ 3 ประการ ของปฏิคาหก
องค์ 3 ประการ ของทายก องค์ 3 ประการ ของปฏิคาหก มีด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย ทักษิณาอันประกอบด้วยองค์ 6 เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :486 }