เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 4. เทวตาวรรค 5. วิชชาภาคิยสูตร
ไม่มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ไม่มีความเลื่อมใสในอันไม่หวั่นไหวใน
พระสงฆ์ ไม่มีศีลที่พระอริยะใคร่เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเหล่านั้นไม่มีญาณอย่าง
นี้ว่า ‘เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวัน
ข้างหน้า’ ท่านพระโมคคัลลานะผู้ไม่มีทุกข์ ส่วนเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเหล่าใด
มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม
มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ มีศีลที่พระอริยะใคร่ เทวดาชั้นปรนิม-
มิตวสวัตดีเหล่านั้นจึงมีญาณอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่
นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
ลำดับนั้น ท่านพระโมคคัลลานะชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของติสสพรหมแล้ว
หายไปจากพรหมโลกมาปรากฏ ณ พระเชตวัน เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออก
หรือคู้แขนเข้า
มหาโมคคัลลานสูตรที่ 4 จบ
5. วิชชาภาคิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นส่วนแห่งวิชชา
[35] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 6 ประการนี้ เป็นส่วนแห่งวิชชา
ธรรม1 6 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อนิจจสัญญา
2. อนิจเจ ทุกขสัญญา
3. ทุกเข อนัตตสัญญา

เชิงอรรถ :
1 อนิจจสัญญา หมายถึงสัญญาที่เกิดขึ้นในญาณที่พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
อนิจเจ ทุกขสัญญา หมายถึงสัญญาที่เกิดขึ้นในญาณที่พิจารณาเห็นความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยง
ทุกเข อนัตตสัญญา หมายถึงสัญญาที่เกิดขึ้นในญาณที่พิจารณาเห็นความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์
ปหานสัญญา หมายถึงสัญญาที่เกิดขึ้นในญาณที่พิจารณาเห็นการละกิเลส
วิราคสัญญา หมายถึงสัญญาที่เกิดขึ้นในญาณที่พิจารณาเห็นวิราคะ (ความคลายกำหนัด)
นิโรธสัญญา หมายถึงสัญญาที่เกิดขึ้นในญาณที่พิจารณาเห็นนิโรธ (ความดับแห่งกิเลส) (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/35/
116) และดู องฺ.สตฺตก. 23/48-49/40-46, องฺ.ทสก. (แปล) 24/56/123

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :483 }