เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. อนุตตริยวรรค 10. อนุตตริยสูตร
อยู่ นี้เป็นอนุสสติฏฐานที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็น
ไปเพื่อการรู้แจ้งธาตุหลายชนิด1
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญอนุสสติฏฐาน 5 ประการนี้แล”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อานนท์ ถ้าอย่างนั้น เธอจงทรงจำ
อนุสสติฏฐาน ข้อที่ 6 นี้ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีสติก้าวไป มีสติถอยกลับ2 มีสติ
ยืนอยู่ มีสตินั่งอยู่ มีสตินอนอยู่ มีสติประกอบการงานอยู่
อานนท์ นี้เป็นอนุสสติฏฐาน ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไป
เพื่อสติสัมปชัญญะ”
อุทายีสูตรที่ 9 จบ
10. อนุตตริยสูตร
ว่าด้วยอนุตตริยะ3
[30] ภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ (ภาวะอันยอดเยี่ยม) 6 ประการนี้
อนุตตริยะ 6 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ทัสสนานุตตริยะ (การเห็นอันยอดเยี่ยม)
2. สวนานุตตริยะ (การฟังอันยอดเยี่ยม)
3. ลาภานุตตริยะ (การได้อันยอดเยี่ยม)
4. สิกขานุตตริยะ (การศึกษาอันยอดเยี่ยม)
5. ปาริจริยานุตตริยะ (การบำรุงอันยอดเยี่ยม)
6. อนุสสตานุตตริยะ (การระลึกอันยอดเยี่ยม)

เชิงอรรถ :
1 ธาตุหลายชนิด หมายถึง ธาตุ 18 มีจักขุธาตุเป็นต้น (องฺ.เอกก.อ. 1/577/473) และดู อภิ.วิ. (แปล)
35/183/142)
2 มีสติก้าวไป หมายถึงเมื่อเดินก็เดินไปอย่างมีสติและปัญญา (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/29/113)
มีสติถอยกลับ หมายถึงแม้เมื่อจะกลับ ก็กลับอย่างมีสติและปัญญา (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/29/113)
3 ดูเชิงอรรถที่ 1 ฉักกนิบาต ข้อ 8 หน้า 419 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :471 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. อนุตตริยวรรค 10. อนุตตริยสูตร
ทัสสนานุตตริยะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไปเพื่อเห็นช้างแก้วบ้าง ไปเพื่อเห็นม้าแก้วบ้าง
ไปเพื่อเห็นแก้วมณีบ้าง ไปเพื่อเห็นของสูงของต่ำบ้าง หรือไปเพื่อเห็นสมณะหรือ
พราหมณ์ผู้เห็นผิดปฏิบัติผิดบ้าง ภิกษุทั้งหลาย การเห็นนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า
ไม่มี แต่ว่าการเห็นนี้ยังเป็นการเห็นที่เลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่
อริยะ1 ไม่ประกอบด้วยประโยชน์2 ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อ
คลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไป
เพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
ส่วนบุคคลใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น บรรลุที่สุด3 มีความเลื่อมใส
อย่างยิ่ง ไปเพื่อเห็นตถาคตหรือสาวกของตถาคต ภิกษุทั้งหลาย การเห็นนี้ของ
บุคคลนั้น เป็นการเห็นที่ยอดเยี่ยมกว่าการเห็นทั้งหลาย เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์
ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุ
ญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน
การที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั่งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใส
อย่างยิ่ง ไปเพื่อเห็นตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต นี้เรียกว่า ทัสสนานุตตริยะ
ทัสสนานุตตริยะ เป็นอย่างนี้
สวนานุตตริยะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไปเพื่อฟังเสียงกลองบ้าง ไปเพื่อฟังเสียงพิณบ้าง
ไปเพื่อฟังเสียงเพลงขับบ้าง ไปเพื่อฟังเสียงสูงเสียงต่ำบ้าง หรือไปเพื่อฟังธรรมของ

เชิงอรรถ :
1 ไม่ใช่อริยะ ในที่นี้หมายถึง ไม่ประเสริฐ ไม่สูงสุด ไม่บริสุทธิ์ อันพระอริยะทั้งหลายไม่เสพ (องฺ.ฉกฺก.อ.
3/30/114, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา. 3/30/128)
2 ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ หมายถึงไม่ประกอบด้วยประโยชน์ที่ไพบูลย์ต่าง ๆ เช่นทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์
(ประโยชน์ภพนี้) และสัมปรายิกัตถประโยชน์ (ประโยชน์ในภพหน้า) (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/30/114,องฺ.ฉกฺก.ฏีกา.
3/30/128)
3 บรรลุที่สุด ในที่นี้หมายถึงถึงความไม่หวั่นไหว (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/30/114)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :472 }