เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. อนุตตริยวรรค 10. อนุตตริยสูตร
อยู่ นี้เป็นอนุสสติฏฐานที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็น
ไปเพื่อการรู้แจ้งธาตุหลายชนิด1
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญอนุสสติฏฐาน 5 ประการนี้แล”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อานนท์ ถ้าอย่างนั้น เธอจงทรงจำ
อนุสสติฏฐาน ข้อที่ 6 นี้ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีสติก้าวไป มีสติถอยกลับ2 มีสติ
ยืนอยู่ มีสตินั่งอยู่ มีสตินอนอยู่ มีสติประกอบการงานอยู่
อานนท์ นี้เป็นอนุสสติฏฐาน ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไป
เพื่อสติสัมปชัญญะ”
อุทายีสูตรที่ 9 จบ
10. อนุตตริยสูตร
ว่าด้วยอนุตตริยะ3
[30] ภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ (ภาวะอันยอดเยี่ยม) 6 ประการนี้
อนุตตริยะ 6 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ทัสสนานุตตริยะ (การเห็นอันยอดเยี่ยม)
2. สวนานุตตริยะ (การฟังอันยอดเยี่ยม)
3. ลาภานุตตริยะ (การได้อันยอดเยี่ยม)
4. สิกขานุตตริยะ (การศึกษาอันยอดเยี่ยม)
5. ปาริจริยานุตตริยะ (การบำรุงอันยอดเยี่ยม)
6. อนุสสตานุตตริยะ (การระลึกอันยอดเยี่ยม)

เชิงอรรถ :
1 ธาตุหลายชนิด หมายถึง ธาตุ 18 มีจักขุธาตุเป็นต้น (องฺ.เอกก.อ. 1/577/473) และดู อภิ.วิ. (แปล)
35/183/142)
2 มีสติก้าวไป หมายถึงเมื่อเดินก็เดินไปอย่างมีสติและปัญญา (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/29/113)
มีสติถอยกลับ หมายถึงแม้เมื่อจะกลับ ก็กลับอย่างมีสติและปัญญา (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/29/113)
3 ดูเชิงอรรถที่ 1 ฉักกนิบาต ข้อ 8 หน้า 419 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :471 }