เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. อนุตตริยวรรค 9. อุทายีสูตร
กายนี้แล เข้าไปเปรียบอย่างนั้นว่า ‘แม้กายนี้ก็เป็นธรรมดาอย่างนี้
มีภาวะอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นอย่างนี้ไปได้‘1
ภิกษุนั้นเห็นสรีระที่ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า ถูกฝูงกา นกเหยี่ยว นกแร้ง สุนัข สุนัข
จิ้งจอกหรือสัตว์มีชีวิตชนิดต่าง ๆ กำลังกัดกินอย่างไร ก็น้อมกายนี้แลเข้าไปเปรียบ
อย่างนั้นว่า ‘แม้กายนี้ก็เป็นธรรมดาอย่างนี้ มีภาวะอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นอย่างนี้ไปได้’
ภิกษุนั้นเห็นสรีระที่ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า มีโครงกระดูก มีเนื้อและเลือด มีเอ็น
รึงรัดไว้ ฯลฯ มีแต่โครงกระดูก ไม่มีเนื้อและเลือด มีเอ็นรึงรัดไว้ ฯลฯ มีแต่โครง
กระดูก ปราศจากเนื้อและเลือด ยังมีเอ็นรึงรัดไว้ ฯลฯ มีแต่ท่อนกระดูกปราศจาก
เครื่องผูก กระจัดกระจายไปคนละทิศละทาง คือ กระดูกมือไปทางหนึ่ง กระดูกเท้า
ไปทางหนึ่ง กระดูกแข้งไปทางหนึ่ง กระดูกขาไปทางหนึ่ง กระดูกสะเอวไปทางหนึ่ง
กระดูกสันหลังไปทางหนึ่ง กระโหลกศีรษะไปทางหนึ่งอย่างไร ก็น้อมกายนี้แลเข้าไป
เปรียบอย่างนั้นว่า ‘แม้กายนี้ ก็เป็นธรรมดาอย่างนี้ มีภาวะอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้น
อย่างนี้ไปได้’
หรือภิกษุนั้นเห็นสรีระที่ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นกระดูกมีสีขาวเหมือนสีสังข์ เป็น
กระดูกที่สัตว์ทำให้เป็นกอง ๆ เกินหนึ่งปี เป็นกระดูกผุแตกเป็นชิ้นเล็กๆ อย่างไร
ก็น้อมกายนี้แลเข้าไปเปรียบอย่างนั้นว่า ‘แม้กายนี้ ก็เป็นธรรมดาอย่างนี้ มีภาวะ
อย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นอย่างนี้ไปได้’ นี้เป็นอนุสสติฏฐานที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้
ย่อมเป็นไปเพื่อถอนอัสมิมานะ2ได้
5. ภิกษุ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
จึงบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา

เชิงอรรถ :
1 เป็นธรรมดาอย่างนี้ หมายถึงสิ่ง 3 สิ่ง คือ อายุ ไออุ่น และวิญญาณ เป็นปัจจัยที่ทำให้กายนี้อดทนต่อ
อิริยาบถมีการยืนและการเดินเป็นต้นได้ แต่เมื่อสิ่ง 3 สิ่งนี้ขาดไป กายนี้จึงมีความเน่าเปื่อยเป็นธรรมดา
มีภาวะอย่างนี้ หมายถึงจักมีการพองขึ้นเป็นต้นอย่างนี้ทีเดียว
ไม่ล่วงพ้นอย่างนี้ไปได้ หมายถึงไม่ล่วงพ้นจากการพองขึ้นเป็นต้นไปได้ (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/29/113)
2 ดูเชิงอรรถที่ 1 ปัญจกนิบาต ข้อ 71 หน้า 121 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :470 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. อนุตตริยวรรค 10. อนุตตริยสูตร
อยู่ นี้เป็นอนุสสติฏฐานที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็น
ไปเพื่อการรู้แจ้งธาตุหลายชนิด1
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญอนุสสติฏฐาน 5 ประการนี้แล”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อานนท์ ถ้าอย่างนั้น เธอจงทรงจำ
อนุสสติฏฐาน ข้อที่ 6 นี้ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีสติก้าวไป มีสติถอยกลับ2 มีสติ
ยืนอยู่ มีสตินั่งอยู่ มีสตินอนอยู่ มีสติประกอบการงานอยู่
อานนท์ นี้เป็นอนุสสติฏฐาน ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไป
เพื่อสติสัมปชัญญะ”
อุทายีสูตรที่ 9 จบ
10. อนุตตริยสูตร
ว่าด้วยอนุตตริยะ3
[30] ภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ (ภาวะอันยอดเยี่ยม) 6 ประการนี้
อนุตตริยะ 6 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ทัสสนานุตตริยะ (การเห็นอันยอดเยี่ยม)
2. สวนานุตตริยะ (การฟังอันยอดเยี่ยม)
3. ลาภานุตตริยะ (การได้อันยอดเยี่ยม)
4. สิกขานุตตริยะ (การศึกษาอันยอดเยี่ยม)
5. ปาริจริยานุตตริยะ (การบำรุงอันยอดเยี่ยม)
6. อนุสสตานุตตริยะ (การระลึกอันยอดเยี่ยม)

เชิงอรรถ :
1 ธาตุหลายชนิด หมายถึง ธาตุ 18 มีจักขุธาตุเป็นต้น (องฺ.เอกก.อ. 1/577/473) และดู อภิ.วิ. (แปล)
35/183/142)
2 มีสติก้าวไป หมายถึงเมื่อเดินก็เดินไปอย่างมีสติและปัญญา (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/29/113)
มีสติถอยกลับ หมายถึงแม้เมื่อจะกลับ ก็กลับอย่างมีสติและปัญญา (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/29/113)
3 ดูเชิงอรรถที่ 1 ฉักกนิบาต ข้อ 8 หน้า 419 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :471 }