เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. อนุตตริยวรรค 9. อุทายีสูตร
แม้ครั้งที่ 3 พระผู้มีพระภาคก็รับสั่งเรียกท่านพระอุทายีมาตรัสถามว่า “อุทายี
อนุสสติฏฐาน มีเท่าไรหนอ” แม้ครั้งที่ 3 ท่านพระอุทายีก็นิ่งอยู่
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกับท่านพระอุทายีว่า “ท่านอุทายี พระศาสดา
ตรัสถามท่าน”
ท่านพระอุทายีตอบว่า “ท่านอานนท์ ผมได้ยินพระดำรัสของพระผู้มี
พระภาคอยู่” และได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคต่อไปอีกว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ 1 ชาติบ้าง 2 ชาติบ้าง ฯลฯ
ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสสติฏฐาน”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์
เรารู้แล้ว อุทายีนี้เป็นโมฆบุรุษ ไม่ประกอบอธิจิต1อยู่” แล้วตรัสถามท่านพระ
อานนท์ต่อไปว่า “อานนท์ อนุสสติฏฐาน มีเท่าไร”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนุสสติฏฐาน มี 5
ประการ
อนุสสติฏฐาน 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมแล้วบรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับ
ไปภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่ง
ผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะ
ปีติจางคลายไปภิกษุมีอุเบกขามีสติมีสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยนาม
กายบรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติอยู่เป็นสุข’ อยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสสติฏฐาน
ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขใน
ปัจจุบัน

เชิงอรรถ :
1 อธิจิต หมายถึงสมาธิจิตและวิปัสสนาจิต (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/29/112)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :468 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. อนุตตริยวรรค 9. อุทายีสูตร
2. ภิกษุมนสิการอาโลกสัญญา ตั้งสัญญาไว้ว่าเป็นกลางวันอยู่ มนสิการ
อาโลกสัญญาว่ากลางวันอย่างไร กลางคืนก็อย่างนั้น กลางคืน
อย่างไร กลางวันก็อย่างนั้น ภิกษุนั้นมีจิตปลอดโปร่งไม่ถูกนิวรณ์
พัวพัน ย่อมเจริญจิตที่มีความสว่าง1ด้วยประการอย่างนี้ นี้เป็น
อนุสสติฏฐาน ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อได้
ญาณทัสสนะ2
3. ภิกษุพิจารณาเห็นกายนี้เท่านั้น ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป ตั้งแต่ปลายผม
ลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดประการต่าง ๆ
ว่า ‘ในกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อใน
กระดูก ไต3 หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม4 ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่
อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน
น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร5’ นี้เป็นอนุสสติฏฐาน ที่ภิกษุเจริญทำให้
มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อละกามราคะ
4. ภิกษุเห็นสรีระที่ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า ตายแล้ววันหนึ่ง สองวัน หรือ
สามวัน พองขึ้น มีสีเขียวคล้ำ มีหนองไหลออกอย่างไร ก็น้อม

เชิงอรรถ :
1 เจริญจิตที่มีความสว่าง หมายถึงเจริญพอกพูนจิตที่มีโอภาสเพื่อบรรลุทิพพจักขุญาณซึ่งต่างจากการ
มนสิการอาโลกสัญญาที่มุ่งบรรเทาถีนมิทธะ (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/29/112)
2 ญาณทัสสนะ ในที่นี้หมายถึงทิพพจักขุญาณ (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/29/112)
3 ไต แปลจากคำว่า ‘วกฺก’ (โบราณแปลว่า ม้าม) ได้แก่ ก้อนเนื้อ 2 ก้อนมีขั้วเดียวกัน รูปร่างคล้ายลูก
สะบ้าของเด็ก ๆ หรือคล้ายผลมะม่วง 2 ผลที่ติดอยู่ในขั้วเดียวกัน มีเอ็นใหญ่รึงรัดจากลำคอลงไปถึงหัว
ใจแล้วแยกออกห้อยอยู่ทั้ง 2 ข้าง (ขุ.ขุ.อ. 3/43); พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้บท
นิยามของคำว่า “ไต” ว่า อวัยวะคู่หนึ่งของคนและสัตว์ อยู่ในช่องท้องใกล้กระดูกสันหลัง ทำหน้าที่ขับของ
เสียออกมากับน้ำปัสสาวะ; Buddhadatta Mahathera, A. Concise Pali-English Dictionary, 1985,
(224) และ Rhys Davids, T.W. Pali-English Dictionary, 1921-1925,(591) ให้ความหมายของคำว่า
“วกฺก” ตรงกับคำว่า “ไต” (Kidney)
4 ม้าม แปลจากคำว่า ‘ปิหก’ ตาม (ขุ.ขุ.อ. 3/45) (โบราณแปลว่าไต); พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. 2525 ให้บทนิยามไว้ว่า “อวัยวะภายในร่างกาย ริมกระเพาะอาหารข้างซ้าย มีหน้าที่ทำลายเม็ด
เลือดแดง สร้างเม็ดเลือดเหลืองและสร้างภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย”
5 มูตร หมายถึงน้ำปัสสาวะ ซึ่งมีที่อยู่คือกระเพาะปัสสาวะนั่นเอง (วิสุทฺธิ. 1/213/288)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :469 }