เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. อนุตตริยวรรค 7. ปฐมสมยสูตร
ธรรมเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะแก่ผมเถิด’ ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
ย่อมแสดงธรรม1เพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะแก่เธอ นี้เป็นสมัยที่ 4 ที่
ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
5. สมัยใด ภิกษุมีจิตถูกวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย)กลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉา
ครอบงำอยู่ และเธอไม่ทราบชัดซึ่งอุบายเครื่องสลัดวิจิกิจฉาที่เกิด
ขึ้นตามความเป็นจริง สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญ
ภาวนาทางใจแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ผมมีจิตถูกวิจิกิจฉา
กลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และผมก็ไม่ทราบชัดซึ่งอุบายเครื่อง
สลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ขอผู้มีอายุโปรดแสดง
ธรรมเพื่อละวิจิกิจฉาแก่ผมเถิด’ ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจย่อมแสดง
ธรรม2เพื่อละวิจิกิจฉาแก่เธอ นี้เป็นสมัยที่ 5 ที่ควรเข้าไปพบภิกษุ
ผู้เจริญภาวนาทางใจ
6. สมัยใด ภิกษุไม่รู้ไม่เห็นนิมิตซึ่งเป็นที่สิ้นอาสวะโดยลำดับสำหรับผู้
อาศัยมนสิการอยู่ สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนา
ทางใจแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ผมไม่รู้ไม่เห็นนิมิตซึ่งเป็นที่สิ้น
อาสวะโดยลำดับสำหรับผู้อาศัยมนสิการอยู่ ขอผู้มีอายุโปรดแสดง
ธรรมเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแก่ผมเถิด’ ภิกษุผู้เจริญ
ภาวนาทางใจย่อมแสดงธรรมเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะแก่เธอ นี้
เป็นสมัยที่ 6 ที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
ภิกษุ สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ 6 ประการนี้แล”
ปฐมสมยสูตรที่ 7 จบ

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงแสดงสมถกัมมัฏฐาน (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/27/111)
2 หมายถึงแสดงคุณพระรัตนตรัย (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/27/111)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :464 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. อนุตตริยวรรค 8. ทุติยสมยสูตร
8. ทุติยสมยสูตร
ว่าด้วยสมัยที่ควรพบผู้เจริญภาวนา สูตรที่ 2
[28] สมัยหนึ่ง ภิกษุเถระจำนวนมาก อยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
เขตกรุงพาราณสี ครั้งนั้น เมื่อภิกษุเถระเหล่านั้นกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉัน
อาหารเสร็จแล้ว นั่งประชุมกันในโรงฉัน1 ได้เกิดการสนทนากันขึ้นในระหว่างว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยไหนเป็นสมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ”
เมื่อกล่าวถามกันอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุเถระดังนี้ว่า “ผู้มี
อายุ สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจกลับจากบิณฑบาตภายหลังฉันอาหารเสร็จ
ล้างเท้าแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า2 สมัยนั้น เป็นสมัยที่ควร
เข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ”
เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า
“ผู้มีอายุ สมัยนั้น ไม่ใช่สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ เพราะ
สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ กลับจากบิณฑบาตภายหลังฉันอาหารเสร็จ
ล้างเท้าแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น ความ
เหน็ดเหนื่อยเพราะการเที่ยวบิณฑบาตของภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจนั้นยังไม่สงบระงับ
และความเหน็ดเหนื่อยเพราะการฉันอาหารของภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจนั้นก็ยังไม่
สงบระงับ ฉะนั้น สมัยนั้นจึงไม่ใช่สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจนั้น
แต่สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น นั่งคู้
บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้าที่ร่มเงาวิหาร สมัยนั้น ควรเข้าไปพบภิกษุ
ผู้เจริญภาวนาทางใจ”
เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า

เชิงอรรถ :
1 โรงฉัน แปลจากภาษาบาลีว่า ‘มณฺฑลมาเฬ’ หมายถึง(โภชนสาลา)โรงฉันที่สร้างเป็นปะรำมีลักษณะกลม
(องฺ.ฉกฺก.อ. 3/28/111, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา 3/28/126)
2 ดูเชิงอรรถที่ 5 ปัญจกนิบาต ข้อ 75 หน้า 129 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :465 }