เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. อนุตตริยวรรค 7. ปฐมสมยสูตร
ธรรมเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะแก่ผมเถิด’ ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
ย่อมแสดงธรรม1เพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะแก่เธอ นี้เป็นสมัยที่ 4 ที่
ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
5. สมัยใด ภิกษุมีจิตถูกวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย)กลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉา
ครอบงำอยู่ และเธอไม่ทราบชัดซึ่งอุบายเครื่องสลัดวิจิกิจฉาที่เกิด
ขึ้นตามความเป็นจริง สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญ
ภาวนาทางใจแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ผมมีจิตถูกวิจิกิจฉา
กลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และผมก็ไม่ทราบชัดซึ่งอุบายเครื่อง
สลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ขอผู้มีอายุโปรดแสดง
ธรรมเพื่อละวิจิกิจฉาแก่ผมเถิด’ ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจย่อมแสดง
ธรรม2เพื่อละวิจิกิจฉาแก่เธอ นี้เป็นสมัยที่ 5 ที่ควรเข้าไปพบภิกษุ
ผู้เจริญภาวนาทางใจ
6. สมัยใด ภิกษุไม่รู้ไม่เห็นนิมิตซึ่งเป็นที่สิ้นอาสวะโดยลำดับสำหรับผู้
อาศัยมนสิการอยู่ สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนา
ทางใจแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ผมไม่รู้ไม่เห็นนิมิตซึ่งเป็นที่สิ้น
อาสวะโดยลำดับสำหรับผู้อาศัยมนสิการอยู่ ขอผู้มีอายุโปรดแสดง
ธรรมเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแก่ผมเถิด’ ภิกษุผู้เจริญ
ภาวนาทางใจย่อมแสดงธรรมเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะแก่เธอ นี้
เป็นสมัยที่ 6 ที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
ภิกษุ สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ 6 ประการนี้แล”
ปฐมสมยสูตรที่ 7 จบ

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงแสดงสมถกัมมัฏฐาน (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/27/111)
2 หมายถึงแสดงคุณพระรัตนตรัย (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/27/111)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :464 }