เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. อนุตตริยวรรค 7. ปฐมสมยสูตร
ผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ได้ตรัสรู้วิธีบรรลุ
ช่องว่างในที่คับแคบ คือ อนุสสติฏฐาน 6 ประการนี้ เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์
ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะ และปริเทวะ เพื่อดับทุกข์ และโทมนัส เพื่อบรรลุ
ญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน
มหากัจจานสูตรที่ 6 จบ
7. ปฐมสมยสูตร
ว่าด้วยสมัยที่ควรพบผู้เจริญภาวนา สูตรที่ 1
[27] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ มีเท่าไร
หนอแล”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
6 ประการนี้
สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ 6 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สมัยใด ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตถูกกามราคะ1กลุ้มรุม ถูกกามราคะ
ครอบงำอยู่ และเธอไม่ทราบชัดซึ่งอุบายเครื่องสลัดกามราคะที่เกิด
ขึ้นตามความเป็นจริง สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญ
ภาวนาทางใจแล้วถามอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ผมมีจิตถูกกามราคะ
กลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และผมก็ไม่ทราบชัดซึ่งอุบาย
เครื่องสลัดกามราคะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ขอผู้มีอายุโปรด
แสดงธรรมเพื่อละกามราคะแก่ผมเถิด’ ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
ย่อมแสดงธรรม2เพื่อละกามราคะแก่เธอ นี้เป็นสมัยที่ 1 ที่ควร
เข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 1 ฉักกนิบาต ข้อ 23 หน้า 454 ในเล่มนี้
2 หมายถึงแสดงอสุภกัมมัฏฐาน (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/27/111) สาระในสูตรนี้ ดู องฺ.เอกก. (แปล) 20/11-20/
2-4

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :462 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. อนุตตริยวรรค 7. ปฐมสมยสูตร
2. สมัยใด ภิกษุมีจิตถูกพยาบาท(ความคิดร้าย)กลุ้มรุม ถูกพยาบาท
ครอบงำอยู่ และเธอไม่ทราบชัดซึ่งอุบายเครื่องสลัดพยาบาทที่เกิด
ขึ้นตามความเป็นจริง สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญ
ภาวนาทางใจแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ผมมีจิตถูกพยาบาท
กลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และผมก็ไม่ทราบชัดซึ่งอุบาย
เครื่องสลัดพยาบาทที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ขอผู้มีอายุโปรด
แสดงธรรมเพื่อละพยาบาทแก่ผมเถิด’ ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
ย่อมแสดงธรรม1เพื่อละพยาบาทแก่เธอ นี้เป็นสมัยที่ 2 ที่ควร
เข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
3. สมัยใด ภิกษุมีจิตถูกถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม)กลุ้มรุม
ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่ และเธอไม่ทราบชัดซึ่งอุบายเครื่องสลัด
ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหา
ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ผมมีจิตถูก
ถีนมิทธะกลุ้มรุม ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่ และผมก็ไม่ทราบชัดซึ่ง
อุบายเครื่องสลัดถีนมิทธะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ขอผู้มีอายุได้
โปรดแสดงธรรมเพื่อละถีนมิทธะแก่ผมเถิด’ ภิกษุผู้เจริญภาวนา
ทางใจ ย่อมแสดงธรรม2เพื่อละถีนมิทธะแก่เธอ นี้เป็นสมัยที่ 3 ที่
ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
4. สมัยใด ภิกษุมีจิตถูกอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
กลุ้มรุม ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่ และเธอไม่ทราบชัดซึ่งอุบาย
เครื่องสลัดอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วออกไปตามความเป็นจริง
สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจแล้วกล่าว
อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ผมมีจิตถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ถูก
อุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่ และผมก็ไม่ทราบชัดซึ่งอุบายเครื่องสลัด
อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ขอผู้มีอายุโปรดแสดง

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงแสดงเมตตากัมมัฏฐาน (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/27/111)
2 หมายถึงแสดงอาโลกสัญญา หรือเหตุปรารภความเพียรบางอย่าง (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/27/111)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :463 }