เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. อนุตตริยวรรค 6. มหากัจจานสูตร
นั้นแล มีจิตเสมออากาศ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ โดยประการทั้งปวง
ผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำสีลานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
เป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล
5. อริยสาวกระลึกถึงจาคะของตนว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดี
แล้วหนอ ฯลฯ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทานอยู่ครองเรือน’
สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงจาคะของตน สมัยนั้น จิตของอริยสาวก
นั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจาก
ความกำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’ นี้ เป็นชื่อของกามคุณ 5 อริยสาวก
นั้นแลมีจิตเสมออากาศ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ โดยประการทั้งปวง
ผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำจาคานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
เป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล
6. อริยสาวกระลึกถึงเทวดาว่า ‘มีเทวดาชั้นจาตุมหาราช ฯลฯ เทวดา
ชั้นสูงขึ้นไปกว่านั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติ
จากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีศรัทธาเช่นนั้น
เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใด... สุตะ... จาคะ... ปัญญาเช่นใด
แม้เราเองก็มีปัญญาเช่นนั้น สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศรัทธา
ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของตน และของเทวดาเหล่านั้น
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะ
กลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิต
ออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’ นี้เป็นชื่อ
ของกามคุณ 5 อริยสาวกนั้นแลมีจิตเสมอด้วยอากาศ อันไพบูลย์
เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่โดย
ประการทั้งปวง
ผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำเทวตานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
เป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :461 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. อนุตตริยวรรค 7. ปฐมสมยสูตร
ผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ได้ตรัสรู้วิธีบรรลุ
ช่องว่างในที่คับแคบ คือ อนุสสติฏฐาน 6 ประการนี้ เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์
ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะ และปริเทวะ เพื่อดับทุกข์ และโทมนัส เพื่อบรรลุ
ญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน
มหากัจจานสูตรที่ 6 จบ
7. ปฐมสมยสูตร
ว่าด้วยสมัยที่ควรพบผู้เจริญภาวนา สูตรที่ 1
[27] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ มีเท่าไร
หนอแล”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
6 ประการนี้
สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ 6 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สมัยใด ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตถูกกามราคะ1กลุ้มรุม ถูกกามราคะ
ครอบงำอยู่ และเธอไม่ทราบชัดซึ่งอุบายเครื่องสลัดกามราคะที่เกิด
ขึ้นตามความเป็นจริง สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญ
ภาวนาทางใจแล้วถามอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ผมมีจิตถูกกามราคะ
กลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และผมก็ไม่ทราบชัดซึ่งอุบาย
เครื่องสลัดกามราคะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ขอผู้มีอายุโปรด
แสดงธรรมเพื่อละกามราคะแก่ผมเถิด’ ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
ย่อมแสดงธรรม2เพื่อละกามราคะแก่เธอ นี้เป็นสมัยที่ 1 ที่ควร
เข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 1 ฉักกนิบาต ข้อ 23 หน้า 454 ในเล่มนี้
2 หมายถึงแสดงอสุภกัมมัฏฐาน (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/27/111) สาระในสูตรนี้ ดู องฺ.เอกก. (แปล) 20/11-20/
2-4

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :462 }