เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. อนุตตริยวรรค 6. มหากัจจานสูตร
ผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำพุทธานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
เป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล
2. อริยสาวกระลึกถึงพระธรรมว่า ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระ
ภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ สมัยใด อริยสาวก
ระลึกถึงพระธรรม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะ
กลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนิน
ไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด คำว่า
‘กำหนัด’ นี้เป็นชื่อของกามคุณ 5 อริยสาวกนั้นแล มีจิตเสมอ
อากาศ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ
เบียดเบียนอยู่ โดยประการทั้งปวง
ผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำธัมมานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
เป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล
3. อริยสาวกระลึกถึงพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค
เป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ สมัยใด
อริยสาวกระลึกถึงพระสงฆ์ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่
ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็น
จิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความ
กำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’ นี้เป็นชื่อของกามคุณ 5 อริยสาวกนั้นแล
มีจิตเสมออากาศ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนอยู่โดยประการทั้งปวง
ผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำสังฆานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
เป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล
4. อริยสาวกระลึกถึงศีลของตน ที่ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศีลของตน สมัยนั้น จิตของอริยสาวก
นั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจาก
ความกำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’ นี้เป็นชื่อของกามคุณ 5 อริยสาวก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :460 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. อนุตตริยวรรค 6. มหากัจจานสูตร
นั้นแล มีจิตเสมออากาศ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ โดยประการทั้งปวง
ผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำสีลานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
เป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล
5. อริยสาวกระลึกถึงจาคะของตนว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดี
แล้วหนอ ฯลฯ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทานอยู่ครองเรือน’
สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงจาคะของตน สมัยนั้น จิตของอริยสาวก
นั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจาก
ความกำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’ นี้ เป็นชื่อของกามคุณ 5 อริยสาวก
นั้นแลมีจิตเสมออากาศ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ โดยประการทั้งปวง
ผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำจาคานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
เป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล
6. อริยสาวกระลึกถึงเทวดาว่า ‘มีเทวดาชั้นจาตุมหาราช ฯลฯ เทวดา
ชั้นสูงขึ้นไปกว่านั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติ
จากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีศรัทธาเช่นนั้น
เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใด... สุตะ... จาคะ... ปัญญาเช่นใด
แม้เราเองก็มีปัญญาเช่นนั้น สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศรัทธา
ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของตน และของเทวดาเหล่านั้น
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะ
กลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิต
ออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’ นี้เป็นชื่อ
ของกามคุณ 5 อริยสาวกนั้นแลมีจิตเสมอด้วยอากาศ อันไพบูลย์
เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่โดย
ประการทั้งปวง
ผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำเทวตานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
เป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :461 }