เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
4. สุมนวรรค 1. สุมนสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มี สุมนา คือเทวดาผู้เคยเป็นทายก ย่อมข่มเทวดา
ผู้ไม่เคยเป็นทายกด้วยฐานะ 5 ประการ คือ

1. อายุที่เป็นทิพย์ 2. วรรณะที่เป็นทิพย์
3. สุขที่เป็นทิพย์ 4. ยศที่เป็นทิพย์
5. อธิปไตยที่เป็นทิพย์

เทวดาผู้เคยเป็นทายก ย่อมข่มเทวดาผู้ไม่เคยเป็นทายกด้วยฐานะ 5
ประการนี้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเทวดาทั้งสองนั้น จุติจากเทวโลกนั้นแล้วมาสู่ความ
เป็นมนุษย์นี้ ท่านทั้งสองผู้เป็นมนุษย์นั้น พึงมีความพิเศษ มีเหตุแตกต่างกันหรือไม่”
“มี สุมนา คือมนุษย์ผู้เคยเป็นทายก ย่อมข่มมนุษย์ผู้ไม่เคยเป็นทายกด้วย
ฐานะ 5 ประการ คือ

1. อายุที่เป็นของมนุษย์ 2. วรรณะที่เป็นของมนุษย์
3. สุขที่เป็นของมนุษย์ 4. ยศที่เป็นของมนุษย์
5. อธิปไตยที่เป็นของมนุษย์

มนุษย์ผู้เคยเป็นทายก ย่อมข่มมนุษย์ผู้ไม่เคยเป็นทายกด้วยฐานะ 5
ประการนี้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าคนทั้งสองนั้นออกบวชเป็นบรรพชิต ท่านทั้งสองผู้
เป็นบรรพชิตนั้น พึงมีความพิเศษ มีเหตุแตกต่างกันหรือไม่”
“มี สุมนา บรรพชิตผู้เคยเป็นทายก ย่อมข่มบรรพชิตผู้ไม่เคยเป็นทายกด้วย
ฐานะ 5 ประการ คือ

1. เมื่อเขาขอร้องจึงใช้สอยจีวรมาก เมื่อเขาไม่ขอร้องจึงใช้สอยน้อย
2. เมื่อเขาขอร้องจึงฉันบิณฑบาตมาก เมื่อเขาไม่ขอร้องจึงฉันน้อย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :46 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
4. สุมนวรรค 1. สุมนสูตร

3. เมื่อเขาขอร้องจึงใช้สอยเสนาสนะมาก เมื่อเขาไม่ขอร้องจึงใช้สอยน้อย
4. เมื่อเขาขอร้องจึงใช้สอยคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารมาก เมื่อเขาไม่
ขอร้องจึงใช้สอยน้อย
5. อยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจารีเหล่าใด เพื่อนพรหมจารีเหล่านั้นก็
ประพฤติต่อเธอด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมเป็นที่พอใจ
เป็นส่วนมาก ที่ไม่พอใจเป็นส่วนน้อย นำสิ่งเป็นที่พอใจมาเป็น
ส่วนมาก ที่ไม่พอใจเป็นส่วนน้อย

บรรพชิตผู้เคยเป็นทายก ย่อมข่มบรรพชิตผู้ไม่เคยเป็นทายกด้วยฐานะ 5
ประการนี้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าคนทั้งสองนั้นบรรลุอรหัตตผล ท่านทั้งสองผู้บรรลุ
อรหัตตผล พึงมีความพิเศษ มีเหตุแตกต่างกันหรือไม่”
“สุมนา เราไม่กล่าวว่าแตกต่างกันเลยในระหว่างวิมุตติกับวิมุตติ1”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ข้อนี้กำหนดได้ว่า
ควรให้ทาน ควรทำบุญ เพราะบุญเป็นอุปการะแม้แก่เทวดา แม้แก่มนุษย์ แม้แก่
บรรพชิต”
“อย่างนั้น สุมนา ควรให้ทาน ควรทำบุญ เพราะบุญเป็นอุปการะแม้แก่เทวดา
แม้แก่มนุษย์ แม้แก่บรรพชิต”

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า