เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. อนุตตริยวรรค 6. มหากัจจานสูตร
6. มหากัจจานสูตร
ว่าด้วยพระมหากัจจานะ1
[26] ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหากัจจานะ เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระมหากัจจานะจึงได้กล่าวดังนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ได้ตรัสรู้วิธี
บรรลุช่องว่างในที่คับแคบ2คืออนุสสติฏฐาน 6 ประการ เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์
ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะ(ความเศร้าโศก)และปริเทวะ(ความร่ำไร) เพื่อดับทุกข์
(ความทุกข์กาย)และโทมนัส(ความทุกข์ใจ) เพื่อบรรลุญายธรรม3 เพื่อทำให้แจ้ง
นิพพาน
อนุสสติฏฐาน 6 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ระลึกถึงพระตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ สมัยใด อริยสาวก
ระลึกถึงพระตถาคต สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะ
กลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไป
ตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด คำว่า
‘กำหนัด’ นี้ เป็นชื่อของกามคุณ 5 อริยสาวกนั้นแล มีจิตเสมอ
อากาศ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ
เบียดเบียน4อยู่โดยประการทั้งปวง

เชิงอรรถ :
1 คัมภีร์บางแห่งใช้ว่า มหากัจจายนะ
2 ช่องว่างในที่คับแคบ หมายถึงทางหลุดพ้นจากกามคุณ 5 (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) ทางหลุดพ้น
นั้นคืออนุสสติฏฐาน 6 ประการ (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/26/110)
3 ญายธรรม หมายถึงอริยมัคคธรรม (สํ.ม. 19/24/15, สํ.ม.อ. 3/21-30/195)
4 จิตเสมออากาศ หมายถึงจิตที่ไม่ต้องเกี่ยวข้อง ไม่ต้องผูกพัน
ไพบูลย์ หมายถึงจิตไม่ใช่นิดหน่อย
มหัคคตะ หมายถึงจิตที่ยิ่งใหญ่ หรือเป็นจิตที่พระอริยสาวกจำนวนมากปฏิบัติมา
ไม่มีขอบเขต หมายถึงประมาณไม่ได้
ไม่มีเวร หมายถึงปราศจากอกุศลเวรและบุคคลผู้เป็นเวรกัน
ไม่มีความเบียดเบียน หมายถึงปราศจากความโกรธและความทุกข์ (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/26/110)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :459 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. อนุตตริยวรรค 6. มหากัจจานสูตร
ผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำพุทธานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
เป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล
2. อริยสาวกระลึกถึงพระธรรมว่า ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระ
ภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ สมัยใด อริยสาวก
ระลึกถึงพระธรรม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะ
กลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนิน
ไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด คำว่า
‘กำหนัด’ นี้เป็นชื่อของกามคุณ 5 อริยสาวกนั้นแล มีจิตเสมอ
อากาศ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ
เบียดเบียนอยู่ โดยประการทั้งปวง
ผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำธัมมานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
เป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล
3. อริยสาวกระลึกถึงพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค
เป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ สมัยใด
อริยสาวกระลึกถึงพระสงฆ์ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่
ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็น
จิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความ
กำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’ นี้เป็นชื่อของกามคุณ 5 อริยสาวกนั้นแล
มีจิตเสมออากาศ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนอยู่โดยประการทั้งปวง
ผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำสังฆานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
เป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล
4. อริยสาวกระลึกถึงศีลของตน ที่ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศีลของตน สมัยนั้น จิตของอริยสาวก
นั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจาก
ความกำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’ นี้เป็นชื่อของกามคุณ 5 อริยสาวก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :460 }