เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. อนุตตริยวรรค 5. อนุสสติฏฐานสูตร
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำพุทธานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
บริสุทธิ์1ได้อย่างนี้แล
2. อริยสาวกระลึกถึงธรรมว่า ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ สมัยใด อริยสาวก
ระลึกถึงธรรม สมัยนั้น จิตของเธอย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูก
โทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็น
จิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’ นี้เป็น
ชื่อของกามคุณ 5
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำธัมมานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
บริสุทธิ์ได้อย่างนี้แล
3. อริยสาวกระลึกถึงสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้
ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ สมัยใด อริยสาวก
ระลึกถึงสงฆ์ สมัยนั้น จิตของเธอย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูก
โทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็น
จิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’ นี้เป็น
ชื่อของกามคุณ 5
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำสังฆานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
บริสุทธิ์ได้อย่างนี้แล
4. อริยสาวกระลึกถึงศีลของตนที่ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ สมัยใด
อริยสาวกระลึกถึงศีล สมัยนั้น จิตของเธอย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม
ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว
เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’
นี้เป็นชื่อของกามคุณ 5
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำสีลานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์
ได้อย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
1 บริสุทธิ์ ในที่นี้หมายถึงบรรลุนิพพานที่บริสุทธิ์อย่างยิ่ง (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/25/110)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :457 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. อนุตตริยวรรค 5. อนุสสติฏฐานสูตร
5. อริยสาวกระลึกถึงจาคะของตนว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดี
แล้วหนอ ฯลฯ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทานอยู่ครองเรือน’
สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงจาคะ สมัยนั้น จิตของเธอย่อมไม่ถูก
ราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนิน
ไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด
คำว่า ‘กำหนัด’ นี้เป็นชื่อของกามคุณ 5
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำจาคานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
บริสุทธิ์ได้อย่างนี้แล
6. อริยสาวกระลึกถึงเทวดาทั้งหลายว่า ‘มีเทวดาชั้นจาตุมหาราช
เทวดาชั้นดาวดึงส์ เทวดาชั้นยามา เทวดาชั้นดุสิต เทวดาชั้น
นิมมานรดี เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เทวดาชั้นพรหมกาย เทวดา
ชั้นสูงขึ้นไปกว่านั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติ
จากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีศรัทธาเช่นนั้น
เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใด ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญา
เช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีปัญญา
เช่นนั้น’ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ
ปัญญาของตน และของเทวดาเหล่านั้น สมัยนั้น จิตของเธอย่อม
ไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิต
ดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด
คำว่า ‘กำหนัด’ นี้เป็นชื่อของกามคุณ 5
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำอนุสสติทั้ง 6 นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
บริสุทธิ์ได้อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย อนุสสติฏฐาน 6 ประการนี้แล
อนุสสติฏฐานสูตรที่ 5 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :458 }