เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. อนุตตริยวรรค 3. ภยสูตร
เพราะสัตว์โลกผู้ยินดีด้วยกามราคะ ถูกฉันทราคะ1เกี่ยวพันไว้ ย่อมไม่พ้นจาก
ภัยทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า ฉะนั้น คำว่า ‘ภัย’ นี้จึงเป็นชื่อของกาม
คำว่า ‘ทุกข์’ ฯลฯ คำว่า ‘โรค’ ฯลฯ คำว่า ‘ฝี’ ฯลฯ คำว่า ‘เครื่องข้อง’ ฯลฯ
คำว่า ‘เปือกตม’ นี้เป็นชื่อของกาม เพราะเหตุไร
เพราะสัตว์โลกผู้ยินดีด้วยกามราคะ ถูกฉันทราคะเกี่ยวพันไว้ ย่อมไม่พ้นจาก
เปือกตมทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า ฉะนั้น คำว่า ‘เปือกตม’ นี้จึงเป็นชื่อ
ของกาม
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ภัย ทุกข์ โรค (ฝี) เครื่องข้องและเปือกตม
เหล่านี้เราเรียกว่ากามที่ข้องของปุถุชน
ชนทั้งหลายเห็นภัยในอุปาทาน2
อันเป็นแดนเกิดแห่งชาติและมรณะ

เชิงอรรถ :
1 ฉันทราคะ หมายถึงความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจกล่าวคือตัณหา (องฺ.ติก.อ. 2/113/260)
ทั้ง กามราคะ และ ฉันทราคะ เป็นชื่อเรียกกิเลสกามในจำนวนชื่อเรียก 18 ชื่อ คือ (1) ฉันทะ (ความพอใจ)
(2) ราคะ (ความกำหนัด) (3) ฉันทราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ) (4) สังกัปปะ (ความดำริ)
(5) ราคะ (ความกำหนัด) (6) สังกัปปราคะ (ความกำหนัดอำนาจความดำริ) (7) กามฉันทะ (ความพอใจ
ด้วยอำนาจความใคร่) (8) กามราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความใคร่) (9) กามนันทะ (ความเพลิด
เพลินด้วยอำนาจความใคร่) (10) กามตัณหา (ความทะยานอยากด้วยอำนาจความใคร่) (11) กามเสนหะ
(ความเยื่อใยด้วยอำนาจความใคร่) (12) กามปริฬาหะ (ความเร่าร้อนด้วยอำนาจความใคร่) (13) กามมุจฉา
(ความสยบด้วยอำนาจความใคร่) (14) กามัชโฌสานะ (ความติดใจด้วยอำนาจความใคร่) (15) กาโมฆะ
(ห้วงน้ำคือความใคร่) (16) กามโยคะ (กิเลสเครื่องประกอบคือความใคร่) (17) กามุปาทานะ (กิเลส
เครื่องยึดมั่นคือความใคร่) (18) กามัจฉันทนีวรณะ (กิเลสเครื่องกั้นจิตคือความพอใจด้วยอำนาจความใคร่)
(ขุ.ม. (แปล) 29/1/2)
2 อุปาทาน (ความยึดมั่น) 4 คือ (1) กามุปาทาน ความยึดมั่นในกาม (2) ทิฏฐุปาทาน ความยึดมั่นในทิฏฐิ
(3) สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นในศีลและวัตร (4) อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นในวาทะว่าตัวตน (ที.ปา.
11/312/205, ม.มู. 12/143/101, อภิ.วิ. (แปล) 35/938/588)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :454 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. อนุตตริยวรรค 4. หิมวันตสูตร
ย่อมหลุดพ้นในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งชาติและมรณะ1
เพราะไม่ถือมั่น
ชนเหล่านั้นถึงธรรมเป็นแดนเกษม
มีความสุข ดับสนิทในปัจจุบัน
ล่วงทุกข์ทั้งหมดไปได้ พ้นเวรทั้งปวง
ภยสูตรที่ 3 จบ
4. หิมวันตสูตร
ว่าด้วยขุนเขาหิมพานต์
[24] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 ประการ พึงทำลายขุนเขา
หิมพานต์ได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงอวิชชาอันเลวทรามเลย
ธรรม 6 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ2
2. เป็นผู้ฉลาดในการให้สมาธิตั้งอยู่ได้3
3. เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ4

เชิงอรรถ :
1 ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งชาติ และมรณะ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/24/109)
2 ฉลาดในการเข้าสมาธิ หมายถึงฉลาดเลือกอาหารและฤดูที่เหมาะแก่การเจริญสมาธิ (องฺ.ฉกฺก.อ.
3/24/109)
3 ฉลาดในการให้สมาธิตั้งอยู่ได้ หมายถึงสามารถรักษาสมาธิให้ดำรงอยู่ได้นาน (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/24/109)
4 ฉลาดในการออกจากสมาธิ ในที่นี้หมายถึงกำหนดเวลาที่จะออกจากสมาธิได้ (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/24/109)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :455 }