เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 2. สารณียวรรค 6. นกุลปิตุสูตร
ได้ตายทั้งที่ยังมีความห่วงใยเลย เพราะการตายของผู้ที่ยังมีความ
ห่วงใย เป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคก็ทรงติเตียน
4. ท่านมีความห่วงใยอย่างนี้หรือว่า ‘เมื่อเราตายไปแล้ว นกุลมาตา-
คหปตานีจักไม่ทำศีลให้บริบูรณ์’ ท่านไม่ควรคิดเห็นอย่างนี้ เพราะ
สาวิกาทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ที่ยังเป็นคฤหัสถ์
นุ่งห่มผ้าขาว บำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ มีจำนวนเท่าใด ดิฉันก็เป็น
คนหนึ่งในจำนวนสาวิกาเหล่านั้น ก็ผู้ใดพึงมีความสงสัยหรือ
เคลือบแคลง ผู้นั้นจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าผู้กำลังประทับอยู่ ณ ป่าเภสกฬามิคทายวัน นคร
สุงสุมารคีระ แคว้นภัคคะแล้วทูลถามเถิด เพราะฉะนั้นแล ท่านอย่า
ได้ตายทั้งที่ยังมีความห่วงใยเลย เพราะการตายของผู้ที่ยังมีความ
ห่วงใย เป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคก็ทรงติเตียน
5. ท่านมีความห่วงใยอย่างนี้หรือว่า ‘นกุลมาตาคหปตานีจักไม่ได้
ความสงบใจในภายใน’ ท่านไม่ควรคิดเห็นอย่างนี้ เพราะสาวิกา
ทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ที่ยังเป็นคฤหัสถ์นุ่งห่ม
ผ้าขาว ได้ความสงบใจในภายใน มีจำนวนเท่าใด ดิฉันก็เป็นคน
หนึ่งในจำนวนสาวิกาเหล่านั้น ก็ผู้ใดมีความสงสัยหรือเคลือบแคลง
ผู้นั้นจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้กำลัง
ประทับอยู่ ณ ป่าเภสกฬามิคทายวัน นครสุงสุมารคีระ แคว้น
ภัคคะ แล้วทูลถามเถิด เพราะฉะนั้นแล ท่านอย่าได้ตายทั้งที่ยังมี
ความห่วงใยเลย เพราะการตายของผู้ที่ยังมีความห่วงใย เป็นทุกข์
และพระผู้มีพระภาคก็ทรงติเตียน
6. ท่านมีความห่วงใยอย่างนี้หรือว่า ‘นกุลมาตาคหปตานียังไม่ถึงการ
หยั่งลง ยังไม่ถึงที่พึ่ง ยังไม่ถึงความเบาใจ ยังไม่ข้ามพ้นความ
สงสัย ยังไม่ปราศจากความเคลือบแคลง ยังไม่ถึงความแกล้วกล้า
ยังไม่ปราศจากความมีผู้อื่นเป็นปัจจัย1 ในพระธรรมวินัยนี้ อยู่ใน
ศาสนาของพระศาสดา’ ท่านไม่ควรคิดเห็นอย่างนี้ เพราะสาวิกา

เชิงอรรถ :
1 ความมีผู้อื่นเป็นปัจจัย ในที่นี้หมายถึงอาศัยผู้อื่นสนับสนุน (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/16/106)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :437 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 2. สารณียวรรค 6. นกุลปิตุสูตร
ทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ที่ยังเป็นคฤหัสถ์นุ่งห่ม
ผ้าขาว ถึงการหยั่งลง ถึงที่พึ่ง ถึงความเบาใจ ข้ามพ้นความสงสัย
ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า ปราศจากความมี
ผู้อื่นเป็นปัจจัย ในพระธรรมวินัยนี้ อยู่ในศาสนาของพระศาสดามี
จำนวนเท่าใด ดิฉันก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนสาวิกาเหล่านั้น ก็ผู้ใด
พึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลง ผู้นั้นจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ
ภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้กำลังประทับอยู่ ณ ป่าเภสกฬา-
มิคทายวัน นครสุงสุมารคีระ แคว้นภัคคะแล้วทูลถามเถิด เพราะ
ฉะนั้นแล ท่านอย่าได้ตายทั้งที่ยังมีความห่วงใยเลย เพราะการตาย
ของผู้ที่ยังมีความห่วงใย เป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคก็ทรงติเตียน
ครั้งนั้น เมื่อนกุลมาตาคหปตานีกล่าวเตือนนกุลปิตาคหบดีด้วยคำเตือนนี้
ความเจ็บไข้นั้นได้สงบระงับโดยพลัน ท่านนกุลปิตาคหบดีได้หายจากความเจ็บไข้นั้น
และนกุลปิตาคหบดีละความเจ็บไข้นั้น ละได้โดยอาการอย่างนั้น
ครั้งนั้นแล นกุลปิตาคหบดี พอหายจากความเจ็บไข้เท่านั้น ยังฟื้นจากไข้
ไม่นาน ก็ถือไม้เท้าเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ
ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับนกุลปิตาคหบดี ดังนี้ว่า
“คหบดี เป็นลาภของท่านหนอ ท่านได้ดีแล้วหนอ ที่นกุลมาตาคหปตานี
เป็นผู้อนุเคราะห์ หวังประโยชน์กล่าวตักเตือนพร่ำสอนท่าน คหบดี สาวิกาทั้งหลาย
ของเราที่ยังเป็นคฤหัสถ์นุ่งห่มผ้าขาว ทำศีลให้บริบูรณ์ มีจำนวนเท่าใด นกุลมาตา-
คหปตานีก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนสาวิกาเหล่านั้น คหบดี สาวิกาทั้งหลายของเราที่ยัง
เป็นคฤหัสถ์นุ่งห่มผ้าขาว ได้ความสงบใจในภายใน มีจำนวนเท่าใด นกุลมาตา-
คหปตานี ก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนสาวิกาเหล่านั้น คหบดี สาวิกาทั้งหลายของเราที่ยัง
เป็นคฤหัสถ์นุ่งห่มผ้าขาว ถึงการหยั่งลง ถึงที่พึ่ง ถึงความเบาใจ ข้ามพ้นความสงสัย
ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า ปราศจากความมีผู้อื่นเป็นปัจจัยใน
ธรรมวินัยนี้ อยู่ในศาสนาของศาสดา มีจำนวนเท่าใด นกุลมาตาคหปตานีก็เป็นคน
หนึ่งในจำนวนสาวิกาเหล่านั้น คหบดี เป็นลาภของท่านหนอ ท่านได้ดีแล้วหนอ
ที่นกุลมาตาคหปตานีเป็นผู้อนุเคราะห์ หวังประโยชน์ กล่าวตักเตือนพร่ำสอนท่าน”
นกุลปิตุสูตรที่ 6 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :438 }