เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 2. สารณียวรรค 5. อนุตัปปิยสูตร
ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีกาลกิริยาที่ไม่เดือดร้อน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้ไม่ชอบการงาน ไม่ยินดีในการงาน ไม่หมั่นประกอบความ
เป็นผู้ชอบการงาน
2. เป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย ...
3. เป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ ...
4. เป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ...
5. เป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ...
6. เป็นผู้ไม่ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ไม่ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้
เนิ่นช้า ไม่หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีกาลกิริยาที่ไม่เดือดร้อน เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดีในนิพพาน ละสักกายะเพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์
ต่อไปอีกว่า
ผู้ใดหมั่นประกอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้เป็นเช่นกับเนื้อ
ผู้นั้นไม่ได้ชมนิพพานอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
ส่วนผู้ใดละธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้าได้แล้ว
ยินดีในบทคือธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ผู้นั้นได้ชมนิพพานอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
อนุตัปปิยสูตรที่ 5 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :435 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 2. สารณียวรรค 6. นกุลปิตุสูตร
6. นกุลปิตุสูตร
ว่าด้วยนกุลปิตาคหบดี
[16] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าเภสกฬามิคทายวัน
นครสุงสุมารคีระ แคว้นภัคคะ สมัยนั้น นกุลปิตาคหบดีมีความเจ็บไข้ ได้รับทุกข์
เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น นกุลมาตาคหปตานีได้กล่าวเตือนนกุลปิตาคหบดีว่า
คหบดี ท่านอย่าได้ตายทั้งที่ยังมีความห่วงใย1เลย เพราะการตายของผู้ที่ยังมี
ความห่วงใย เป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคก็ทรงติเตียน
1. ท่านมีความห่วงใยอย่างนี้หรือว่า ‘เมื่อเราตายไปแล้ว นกุลมาตา-
คหปตานีจักไม่สามารถเลี้ยงทารก และครองเรือนอยู่ได้’ ท่านไม่
ควรคิดเห็นอย่างนี้ เพราะดิฉันเป็นคนฉลาดปั่นฝ้าย ทำขนสัตว์
เมื่อท่านตายไปแล้ว ดิฉันสามารถเลี้ยงดูทารก และครองเรือนอยู่ได้
เพราะฉะนั้นแล ท่านอย่าได้ตายทั้งที่ยังมีความห่วงใยเลย เพราะ
การตายของผู้ที่ยังมีความห่วงใย เป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคก็
ทรงติเตียน
2. ท่านมีความห่วงใยอย่างนี้หรือว่า ‘เมื่อเราตายไปแล้ว นกุลมาตา-
คหปตานีจักได้ชายอื่นเป็นสามี’ ท่านไม่ควรคิดเห็นอย่างนี้ ทั้งท่าน
และดิฉันย่อมรู้ว่าได้อยู่ร่วมกันประพฤติเคร่งครัดต่อระเบียบประเพณี
ของผู้ครองเรือนตลอด 16 ปี เพราะฉะนั้นแล ท่านอย่าได้ตายทั้ง
ที่ยังมีความห่วงใยเลย เพราะการตายของผู้ที่ยังมีความห่วงใย
เป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคก็ทรงติเตียน
3. ท่านมีความห่วงใยอย่างนี้หรือว่า ‘เมื่อเราตายไปแล้ว นกุลมาตา-
คหปตานีจักไม่ต้องการเห็นพระผู้มีพระภาค ไม่ต้องการเห็นภิกษุสงฆ์’
ท่านไม่ควรคิดเห็นอย่างนี้ เพราะดิฉันต้องการเห็นพระผู้มีพระภาค
อย่างยิ่ง ต้องการเห็นภิกษุสงฆ์อย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นแล ท่านอย่า

เชิงอรรถ :
1 ความห่วงใย ในที่นี้หมายถึงตัณหา (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/16/106)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :436 }