เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 2. สารณียวรรค 5. อนุตัปปิยสูตร
ผู้ใดหมั่นประกอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้เป็นเช่นกับเนื้อ
ผู้นั้นไม่ได้ชมนิพพานอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
ส่วนผู้ใดละธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้าได้แล้ว
ยินดีในบทคือธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ผู้นั้นได้ชมนิพพานอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
ภัททกสูตรที่ 4 จบ
5. อนุตัปปิยสูตร
ว่าด้วยการอยู่อย่างมีกาลกิริยาที่เดือดร้อน
[15] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีกาลกิริยาที่เดือดร้อน
ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีกาลกิริยาที่เดือดร้อน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้ชอบการงาน ยินดีในการงาน หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบ
การงาน
2. เป็นผู้ชอบการพูดคุย ...
3. เป็นผู้ชอบการนอนหลับ ...
4. เป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ...
5. เป็นผู้ชอบการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ...
6. เป็นผู้ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีกาลกิริยาที่เดือดร้อน เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดีในสักกายะ ไม่ละสักกายะเพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีกาลกิริยาที่ไม่เดือดร้อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :434 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 2. สารณียวรรค 5. อนุตัปปิยสูตร
ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีกาลกิริยาที่ไม่เดือดร้อน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้ไม่ชอบการงาน ไม่ยินดีในการงาน ไม่หมั่นประกอบความ
เป็นผู้ชอบการงาน
2. เป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย ...
3. เป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ ...
4. เป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ...
5. เป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ...
6. เป็นผู้ไม่ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ไม่ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้
เนิ่นช้า ไม่หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีกาลกิริยาที่ไม่เดือดร้อน เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดีในนิพพาน ละสักกายะเพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์
ต่อไปอีกว่า
ผู้ใดหมั่นประกอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้เป็นเช่นกับเนื้อ
ผู้นั้นไม่ได้ชมนิพพานอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
ส่วนผู้ใดละธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้าได้แล้ว
ยินดีในบทคือธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ผู้นั้นได้ชมนิพพานอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
อนุตัปปิยสูตรที่ 5 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :435 }