เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 2. สารณียวรรค 4. ภัททกสูตร
4. ภัททกสูตร
ว่าด้วยการอยู่อย่างมีความตายที่เจริญ
[14] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีความตายที่ไม่เจริญ1 มีกาลกิริยา
ที่ไม่เจริญ
ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีความตายที่ไม่เจริญ มีกาลกิริยาที่ไม่เจริญ เป็น
อย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้ชอบการงาน2 ยินดีในการงาน หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบ
การงาน
2. เป็นผู้ชอบการพูดคุย3 ยินดีในการพูดคุย หมั่นประกอบความเป็น
ผู้ชอบการพูดคุย
3. เป็นผู้ชอบการนอนหลับ ยินดีในการนอนหลับ หมั่นประกอบความ
เป็นผู้ชอบการนอนหลับ
4. เป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ หมั่น
ประกอบความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
5. เป็นผู้ชอบคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ยินดีในการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ หมั่น
ประกอบความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีกับคฤหัสถ์
6. เป็นผู้ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า

เชิงอรรถ :
1 ความตายที่ไม่เจริญ หมายถึงความตายของผู้มีความหวาดกลัว
กาลกิริยาที่ไม่เจริญ หมายถึงการถือปฏิสนธิในอบายภูมิ (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/14/105)
2 การงาน ในที่นี้หมายถึงงานนวกรรม คือการก่อสร้างต่าง ๆ เช่น การก่อสร้างวิหารเป็นต้น ความเป็นผู้ยินดี
แต่การก่อสร้างที่ถือว่าเป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัย เพราะทำให้ละเลยต่อการบำเพ็ญคันถธุระและ
วิปัสสนาธุระ (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/14/105,องฺ.ฉกฺก.ฏีกา 3/14-15/118)
3 พูดคุย ในที่นี้หมายถึงการพูดเกี่ยวกับเรื่องผิวพรรณของสตรีและผิวพรรณของบุรุษเป็นต้น (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา
3/14-15/198)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :432 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 2. สารณียวรรค 4. ภัททกสูตร
ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีความตายที่ไม่เจริญ มีกาลกิริยาที่ไม่เจริญ เป็นอย่าง
นี้แล
ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดียิ่งในสักกายะ1 ไม่ละสักกายะเพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีความตายที่เจริญ มีกาลกิริยาที่เจริญ
ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีความตายที่เจริญ มีกาลกิริยาที่เจริญ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้ไม่ชอบการงาน ไม่ยินดีในการงาน ไม่หมั่นประกอบความ
เป็นผู้ชอบการงาน
2. เป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย ไม่ยินดีในการพูดคุย ไม่หมั่นประกอบ
ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย
3. เป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ ไม่ยินดีในการนอนหลับ ไม่หมั่นประกอบ
ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ
4. เป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่
หมั่นประกอบความเป็นผู้คลุกคลีด้วยหมู่
5. เป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ไม่ยินดีในการคลุกคลีกับ
คฤหัสถ์ ไม่หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีกับคฤหัสถ์
6. เป็นผู้ไม่ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ไม่ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ไม่หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีความตายที่เจริญ มีกาลกิริยาที่เจริญ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดีในนิพพาน ละสักกายะเพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์
ต่อไปอีกว่า

เชิงอรรถ :
1 สักกายะ ในที่นี้หมายถึงวัฏฏะที่เกี่ยวข้องอยู่ในภูมิ 3 คือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ (ดู อภิ.สงฺ. (แปล)
34/1293/326 ประกอบ) คำว่าวัฏฏะมี 3 ประการ คือ (1) กิเลสวัฏฏะ วงจรกิเลส ประกอบด้วยอวิชชา
ตัณหา อุปาทาน (2) กัมมวัฏฏะ วงจรกรรมประกอบด้วยสังขาร และกรรมภพ (3) วิปากวัฏฏะ วงจรวิบาก
ประกอบด้วยวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ซึ่งแสดงออกในรูปอุปปัติภพ ชาติ ชรา มรณะ
เป็นต้น (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/14/105,61/147, องฺ.ทสก.อ. 3/117-118/375 สารตฺถ.ฏีกา 3/54/254)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :433 }