เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 2. สารณียวรรค 3. นิสสารณียสูตร
ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่วิญญาณของ
ข้าพเจ้าก็ยังแส่หานิมิตอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอว่า
‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่าได้
กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย
พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่
ภิกษุได้เจริญอนิมิตตาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจ
ยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว
แต่วิญญาณของภิกษุนั้นก็ยังแส่หานิมิตอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย
เพราะอนิมิตตาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดนิมิตทั้งปวง
6. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าปราศจากอัสมิ-
มานะ1 และไม่พิจารณาเห็นว่า ‘เราเป็นนี้‘2 แต่ลูกศรคือความ
เคลือบแคลงสงสัยก็ยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย
พึงกล่าวตักเตือนเธอว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ ท่าน
อย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการ
กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย
ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุปราศจากอัสมิมานะแล้ว และไม่
พิจารณาเห็นว่า ‘เราเป็นนี้’ แต่ลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัย
ก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะสภาวะ
ที่ถอนอัสมิมานะ3นี้เป็นธาตุที่สลัดลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัย’
ภิกษุทั้งหลาย ธาตุที่สลัด 6 ประการนี้แล
นิสสารณียสูตรที่ 3 จบ

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 1 ปัญจกนิบาต ข้อ 71 หน้า 121 ในเล่มนี้
2 ไม่พิจารณาเห็นว่า ‘เราเป็นนี้‘ เป็นคำกล่าวพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘ไม่เห็นว่าเป็นเรา ในเบญจขันธ์’
กล่าวคือไม่พิจารณาเห็นว่าเราเป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร เป็นวิญญาณ (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/13/
105) ดู อภิ.วิ. (แปล) 35/883/559
3 สภาวะที่ถอนอัสมิมานะ หมายถึงอรหัตตมรรค ที่เรียกว่า สภาวะที่ถอนอัสมิมานะ เพราะเมื่อเห็นนิพพาน
ด้วยอำนาจผลที่เกิดจากอรหัตตมรรค อัสมีมานะย่อมไม่มี (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/13/105)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :431 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 2. สารณียวรรค 4. ภัททกสูตร
4. ภัททกสูตร
ว่าด้วยการอยู่อย่างมีความตายที่เจริญ
[14] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีความตายที่ไม่เจริญ1 มีกาลกิริยา
ที่ไม่เจริญ
ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีความตายที่ไม่เจริญ มีกาลกิริยาที่ไม่เจริญ เป็น
อย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้ชอบการงาน2 ยินดีในการงาน หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบ
การงาน
2. เป็นผู้ชอบการพูดคุย3 ยินดีในการพูดคุย หมั่นประกอบความเป็น
ผู้ชอบการพูดคุย
3. เป็นผู้ชอบการนอนหลับ ยินดีในการนอนหลับ หมั่นประกอบความ
เป็นผู้ชอบการนอนหลับ
4. เป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ หมั่น
ประกอบความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
5. เป็นผู้ชอบคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ยินดีในการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ หมั่น
ประกอบความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีกับคฤหัสถ์
6. เป็นผู้ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า

เชิงอรรถ :
1 ความตายที่ไม่เจริญ หมายถึงความตายของผู้มีความหวาดกลัว
กาลกิริยาที่ไม่เจริญ หมายถึงการถือปฏิสนธิในอบายภูมิ (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/14/105)
2 การงาน ในที่นี้หมายถึงงานนวกรรม คือการก่อสร้างต่าง ๆ เช่น การก่อสร้างวิหารเป็นต้น ความเป็นผู้ยินดี
แต่การก่อสร้างที่ถือว่าเป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัย เพราะทำให้ละเลยต่อการบำเพ็ญคันถธุระและ
วิปัสสนาธุระ (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/14/105,องฺ.ฉกฺก.ฏีกา 3/14-15/118)
3 พูดคุย ในที่นี้หมายถึงการพูดเกี่ยวกับเรื่องผิวพรรณของสตรีและผิวพรรณของบุรุษเป็นต้น (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา
3/14-15/198)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :432 }