เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 2. สารณียวรรค 3. นิสสารณียสูตร
3. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญมุทิตาเจโต-
วิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่
ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่อรติ(ความไม่
ยินดี) ก็ยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าว
ตักเตือนเธอว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าว
อย่างนี้ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มี
พระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็น
ไปไม่ได้เลยที่ภิกษุได้เจริญมุทิตาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว
ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว
ปรารภดีแล้ว แต่อรติก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็น
ไปไม่ได้เลย เพราะมุทิตาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดอรติ
4. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญอุเบกขา-
เจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็น
ที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ราคะก็ยัง
ครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอว่า
‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่าได้
กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย
พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุ
ได้เจริญอุเบกขาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว
ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ราคะ
ก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะ
อุเบกขาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดราคะ
5. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าเจริญอนิมิตตาเจโต-
วิมุตติ1แล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่

เชิงอรรถ :
1 อนิมิตตาเจโตวิมุตติ อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึงพลววิปัสสนา(วิปัสสนาที่มีพลัง) กล่าวคืออรหัตตผล
สมาบัติ ที่ชื่อว่า อนิมิต (ไม่มีเครื่องหมาย) เพราะไม่มีราคนิมิต (นิมิตคือราคะ) ไม่มีโทสนิมิต (นิมิตคือ
โทสะ) ไม่มีโมหนิมิต (นิมิตคือโมหะ) ไม่มีรูปนิมิต (นิมิตคือรูป) ไม่มีนิจจนิมิต (นิมิตคือความเห็นว่าเที่ยง)
(องฺ.ฉกฺก.อ. 3/13/104)
อีกนัยหนึ่ง อนิมิตตาเจโตวิมุตติ เป็นชื่อของญาณ 4 คือ (1) ภยตุปัฏฐานญาณ (ความรู้ความปรากฏแห่ง
ความเป็นของน่ากลัว) (2) อาทีนวานุปัสสนาญาณ (ความรู้ในการพิจารณาเห็นโทษ) (3) มุจจิตุกัมยตา-
ญาณ (ความรู้ความเป็นผู้ใคร่จะพ้น) (4) ภังคญาณ (ความรู้ความดับไป) (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา 3/13/117)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :430 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 2. สารณียวรรค 3. นิสสารณียสูตร
ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่วิญญาณของ
ข้าพเจ้าก็ยังแส่หานิมิตอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอว่า
‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่าได้
กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย
พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่
ภิกษุได้เจริญอนิมิตตาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจ
ยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว
แต่วิญญาณของภิกษุนั้นก็ยังแส่หานิมิตอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย
เพราะอนิมิตตาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดนิมิตทั้งปวง
6. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าปราศจากอัสมิ-
มานะ1 และไม่พิจารณาเห็นว่า ‘เราเป็นนี้‘2 แต่ลูกศรคือความ
เคลือบแคลงสงสัยก็ยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย
พึงกล่าวตักเตือนเธอว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ ท่าน
อย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการ
กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย
ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุปราศจากอัสมิมานะแล้ว และไม่
พิจารณาเห็นว่า ‘เราเป็นนี้’ แต่ลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัย
ก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะสภาวะ
ที่ถอนอัสมิมานะ3นี้เป็นธาตุที่สลัดลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัย’
ภิกษุทั้งหลาย ธาตุที่สลัด 6 ประการนี้แล
นิสสารณียสูตรที่ 3 จบ

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 1 ปัญจกนิบาต ข้อ 71 หน้า 121 ในเล่มนี้
2 ไม่พิจารณาเห็นว่า ‘เราเป็นนี้‘ เป็นคำกล่าวพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘ไม่เห็นว่าเป็นเรา ในเบญจขันธ์’
กล่าวคือไม่พิจารณาเห็นว่าเราเป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร เป็นวิญญาณ (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/13/
105) ดู อภิ.วิ. (แปล) 35/883/559
3 สภาวะที่ถอนอัสมิมานะ หมายถึงอรหัตตมรรค ที่เรียกว่า สภาวะที่ถอนอัสมิมานะ เพราะเมื่อเห็นนิพพาน
ด้วยอำนาจผลที่เกิดจากอรหัตตมรรค อัสมีมานะย่อมไม่มี (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/13/105)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :431 }