เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 2. สารณียวรรค 1. ปฐมสารณียสูตร
2. สารณียวรรค
หมวดว่าด้วยสารณียธรรม
1. ปฐมสารณียสูตร
ว่าด้วยสารณียธรรม สูตรที่1
[11] ภิกษุทั้งหลาย สารณียธรรม(ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน) 6 ประการนี้
สารณียธรรม 6 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. ตั้งมั่นเมตตากายกรรม1 ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้า
และลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม
2. ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม
3. ตั้งมั่นเมตตามโนกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม
4. บริโภคโดยไม่แบ่งแยก2ลาภทั้งหลายที่ประกอบด้วยธรรม ได้มา
โดยธรรม โดยที่สุดแม้เพียงบิณฑบาต บริโภคร่วมกับเพื่อนพรหม-
จารีทั้งหลายผู้มีศีล แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม
5. มีศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ
ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิเสมอกันกับเพื่อน
พรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม

เชิงอรรถ :
1 เมตตากายกรรม หมายถึงกายกรรมที่พึงทำด้วยจิตประกอบด้วยเมตตา และเมตตาวจีกรรม เมตตามโน-
กรรมก็มีอรรถาธิบายเช่นเดียวกันนี้ (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/11/97)
2 ไม่แบ่งแยก หมายถึงไม่แบ่งแยกอามิสโดยคิดว่า “จะให้เท่านี้ ๆ” และไม่แบ่งแยกบุคคลโดยคิดว่า
“จะให้แก่คนนั้น ไม่ให้แก่คนนี้” (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/11/99, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา 3/11/111)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :426 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 2. สารณียวรรค 2. ทุติยสารณียสูตร
6. มีอริยทิฏฐิ1 อันเป็นธรรมเครื่องนำออก2เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ
แก่ผู้ทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม
ภิกษุทั้งหลาย สารณียธรรม 6 ประการนี้แล
ปฐมสารณียสูตรที่ 1 จบ
2. ทุติยสารณียสูตร
ว่าด้วยสารณียธรรม สูตรที่ 2
[12] ภิกษุทั้งหลาย สารณียธรรม 6 ประการนี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่
เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน สารณียธรรม 6 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. ตั้งมั่นเมตตากายกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่
เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อ
ความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
2. ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรม ฯลฯ
3. ตั้งมั่นเมตตามโนกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
4. บริโภคโดยไม่แบ่งแยกลาภทั้งหลายที่ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดย
ธรรม โดยที่สุดแม้เพียงบิณฑบาต บริโภคร่วมกับเพื่อนพรหมจารี

เชิงอรรถ :
1 อริยทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงอริยมัคคสัมมาทิฏฐิ (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/11/103)
2 อันเป็นธรรมเครื่องนำออก หมายถึงมรรค 4 (โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และ
อรหัตตมรรค) ที่ตัดมูลเหตุแห่งวัฏฏะ ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ แล้วออกจากวัฏฏะได้ (อภิ.สงฺ. (แปล) 34/
1295/327, อภิ.สงฺ.อ. 83-100/98)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :427 }