เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 1. อาหุเนยยวรรค 10. มหานามสูตร
5. อริยสาวกระลึกถึงจาคะ(การสละ) ของตนว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ
เราได้ดีแล้วหนอ เมื่อหมู่สัตว์ถูกความตระหนี่อันเป็นมลทินกลุ้มรุม
เรามีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว
มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทาน
อยู่ครองเรือน’ มหานามะ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงจาคะ สมัยนั้น
จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม
ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภจาคะ
ดำเนินไปตรงที่เดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว
ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม
ย่อมได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ
เมื่อใจมีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุขจิต
ย่อมตั้งมั่น มหานามะ ตถาคตกล่าวว่า อริยสาวกนี้เป็นผู้ถึง
ความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู่
ในหมู่สัตว์ผู้มีพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญ
จาคานุสสติอยู่
6. อริยสาวกเจริญเทวตานุสสติว่า ‘มีเทวดาชั้นจาตุมหาราช เทวดา
ชั้นดาวดึงส์ เทวดาชั้นยามา เทวดาชั้นดุสิต เทวดาชั้นนิมมานรดี
เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เทวดาชั้นพรหมกาย เทวดาชั้นสูงขึ้นไป
กว่านั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากโลกนี้
แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีศรัทธาเช่นนั้น เทวดา
เหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทว-
โลกนั้น แม้เราเองก็มีศีลเช่นนั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยสุตะ
เช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีสุตะ
เช่นนั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
ไปเกิดในเทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีจาคะเช่นนั้น เทวดาเหล่านั้น
ประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :424 }