เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 1. อาหุเนยยวรรค 9. อนุสสติฎฐานสูตร
3. ลาภานุตตริยะ (การได้อันยอดเยี่ยม)
4. สิกขานุตตริยะ (การศึกษาอันยอดเยี่ยม)
5. ปาริจริยานุตตริยะ (การบำรุงอันยอดเยี่ยม)
6. อนุสสตานุตตริยะ1 (การระลึกอันยอดเยี่ยม)
ภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ 6 ประการนี้แล
อนุตตริยสูตรที่ 8 จบ
9. อนุสสติฏฐานสูตร
ว่าด้วยอนุสสติฏฐาน2
[9] ภิกษุทั้งหลาย อนุสสติฏฐาน 6 ประการนี้
อนุสสติฏฐาน 6 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. พุทธานุสสติ (การระลึกถึงพระพุทธเจ้า)
2. ธัมมานุสสติ (การระลึกถึงพระธรรม)

เชิงอรรถ :
1 การเห็นรูป เช่น เห็นพระทศพล และพระภิกษุสงฆ์ด้วยศรัทธาด้วยความรักที่ตั้งมั่น หรือเห็นอารมณ์
กัมมัฏฐานมีกสิณและอสุภนิมิตเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดความเจริญใจ จัดเป็นทัสสนานุตตริยะ
ส่วนการเห็นสิ่งที่มีค่าอื่น ๆ มีช้างแก้ว ม้าแก้ว เป็นต้น หาใช่ทัสสนานุตตริยะไม่
การได้ฟังการพรรณาคุณพระรัตนตรัยด้วยศรัทธา ด้วยความรักที่ตั้งมั่น หรือการได้ฟังพระพุทธพจน์คือ
พระไตรปิฎกจัดเป็น สวนานุตตริยะ ส่วนการฟังการพรรณนาคุณของบุคคอื่นหาใช่สวนานุตตริยะไม่
การได้อริยทรัพย์ 7 อย่าง จัดเป็น ลาภานุตตริยะ ส่วนการได้แก้วมณีเป็นต้น หาใช่ลาภานุตตริยะไม่
การบำเพ็ญไตรสิกขา (สีล,สมาธิ,ปัญญา) จัดเป็น สิกขานุตตริยะ ส่วนการศึกษาศิลปะอย่างอื่น เช่น
ศิลปะการฝึกช้าง หาใช่สิกขานุตตริยะไม่
การบำรุงพระรัตนตรัย จัดเป็น ปาริจริยานุตตริยะ ส่วนการบำรุงบุคคลอื่น หาใช่ปาริจริยานุตตริยะไม่
การระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยจัดเป็น อนุสสตานุตตริยะ ส่วนการระลึกถึงคุณบุคคลอื่น หาใช่อนุสสตา-
นุตตริยะไม่ ดูรายละเอียดในฉักกนิบาตข้อ 30
อนุตตริยะ 6 ประการนี้ เป็นทั้งโลกิยะ และโลกุตตระ (องฺ.ฉกฺก.อ.3/8-9/96,องฺ.ฉกฺก.ฏีกา 3/8/107)
2 อนุสสติฏฐาน แปลว่า ‘ฐานคืออนุสสติ’ หมายถึงเหตุคืออนุสสติ กล่าวคือฌาน 3 (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/25/
110,29/112)
อนุสสติ ที่เรียกว่า ‘ฐาน’ เพราะเป็นเหตุให้ได้รับประโยชน์เกื้อกูล และความสุขทั้งในภพนี้และภพหน้า
เช่น พุทธานุสสติ (การระลึกถึงพระพุทธคุณ)ย่อมเป็นเหตุให้บรรลุคุณวิเศษ เพราะเมื่อบุคคลระลึกถึงพุทธ
คุณอยู่ ปีติ(ความอิ่มใจ)ย่อมเกิด จากนั้นจึงพิจารณาปีติให้เห็นความสิ้นไปเสื่อมไปจนได้บรรลุ
อรหัตตผล
อนุสสติฏฐานนี้ จัดเป็นอุปจารกัมมัฏฐาน แม้คฤหัสถ์ก็สามารถบำเพ็ญได้ (ขุ.ป.อ. 1/25/137,
องฺ.ฉกฺก.ฏีกา 3/9/108)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :420 }