เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
3. ปัญจังคิกวรรค 10. นาคิตสูตร

พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้ว จึงประกาศให้ผู้อื่น
รู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น1 มีความงามในท่ามกลาง มีความงาม
ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์2 พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
การได้พบพระอรหันต์เช่นนี้เป็นความดีอย่างแท้จริง”
ครั้นคืนนั้นผ่านไป พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละ จึงพากันถือเอา
ของเคี้ยวของฉันเป็นอันมากเข้าไปถึงราวป่าชื่ออิจฉานังคละ ได้ยืนชุมนุมกันส่งเสียง
อื้ออึงที่ซุ้มประตูด้านนอก
สมัยนั้นแล ท่านพระนาคิตะเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาครับสั่งเรียกท่านพระนาคิตะมาตรัสถามว่า “นาคิตะ คนพวกไหนส่งเสียง
อื้ออึงอยู่นั้น คล้ายพวกชาวประมงแย่งปลากัน”
ท่านพระนาคิตะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พราหมณ์และคหบดีชาว
บ้านอิจฉานังคละเหล่านั้นพากันถือของเคี้ยวของฉันเป็นอันมากมายืนชุมนุมกันอยู่ที่
ซุ้มประตูด้านนอก เพื่อถวายพระผู้มีพระภาค และภิกษุสงฆ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “นาคิตะ เราไม่ติดยศ และยศก็ไม่ติดเรา ผู้ใดแลไม่ได้
ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่งเนกขัมมสุข3 ปวิเวกสุข
อุปสมสุข สัมโพธสุขที่เราได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากนี้
ผู้นั้นชื่อว่ายินดีสุขที่ไม่สะอาด สุขในการนอนหลับ และสุขที่อิงอาศัยลาภสักการะและ
การสรรเสริญ”


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
3. ปัญจังคิกวรรค 10. นาคิตสูตร

ท่านพระนาคิตะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาค
ผู้สุคตจงทรงรับ บัดนี้ เป็นเวลาที่พระผู้มีพระภาคจะทรงรับ พระองค์จักเสด็จไป
ทางใด ๆ พราหมณ์คหบดีชาวนิคมและชาวชนบทก็จักหลั่งไหลไปทางนั้น ๆ เปรียบ
เหมือนเมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลงมา น้ำย่อมไหลไปตามที่ลุ่ม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
พระผู้มีพระภาคทรงมีศีลและปัญญา”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “นาคิตะ เราไม่ติดยศ และยศก็ไม่ติดเรา ผู้ใดแลไม่ได้
ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่งเนกขัมมสุข ปวิเวกสุข
อุปสมสุข สัมโพธสุขที่เราได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากนี้
ผู้นั้นชื่อว่ายินดีสุขที่ไม่สะอาด สุขในการนอนหลับ และสุขที่อิงอาศัยลาภสักการะและ
การสรรเสริญ
นาคิตะ อาหารที่กิน ดื่ม เคี้ยว และลิ้มย่อมกลายเป็นอุจจาระและปัสสาวะ
นี้เป็นผลแห่งอาหารนั้น ปิยชนเกิดมีโสกะ(ความโศก) ปริเทวะ(ความร่ำไร) ทุกข์
(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความแค้นใจ) เพราะสิ่งที่รัก
แปรเป็นอื่นไป นี้เป็นผลแห่งความรักนั้น ความเป็นของปฏิกูลในอสุภนิมิต1 ย่อมตั้ง
อยู่แก่ภิกษุผู้ขวนขวายการประกอบตามอสุภนิมิต นี้เป็นผลแห่งการประกอบตาม
อสุภนิมิตนั้น ความเป็นของปฏิกูลในผัสสะ ย่อมตั้งอยู่แก่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นความ
ไม่เที่ยงในผัสสายตนะ2 6 อยู่ นี้เป็นผลแห่งการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงใน