เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 1. อาหุเนยยวรรค 2. ทุติยอาหุเนยยสูตร
ธรรม 6 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ1 มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
2. ฟังเสียงทางหู ฯลฯ
3. ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ
4. ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
5. ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ
6. รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติ-
สัมปชัญญะอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 ประการนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำ
มาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอัน
ยอดเยี่ยมของโลก
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค
ปฐมอาหุเนยยสูตรที่ 1 จบ

2. ทุติยอาหุเนยยสูตร2
ว่าด้วยพระอาหุไนยบุคคล สูตรที่ 2
[2] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 ประการ เป็นผู้ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม 6 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้
หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้

เชิงอรรถ :
1 ไม่ดีใจ หมายถึงไม่กำหนัดยินดีในอิฏฐารมณ์(อารมณ์ที่น่าปรารถนา)
ไม่เสียใจ หมายถึงไม่ขัดเคืองในอนิฏฐารมณ์(อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา) สูตรนี้ทรงตรัสถึงธรรมที่เป็น
คุณสมบัติของพระขีณาสพ (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/1/93)
2 ดู ที.ปา. 11/356/256

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :412 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 1. อาหุเนยยวรรค 2. ทุติยอาหุเนยยสูตร
ทะลุฝากำแพง และภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้น
หรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยก
เหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนก
บินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
2. ได้ยินเสียง 2 ชนิด คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกล
และอยู่ใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
3. กำหนดรู้จิตของสัตว์และบุคคลอื่นได้ด้วยจิตของตน คือ จิตมีราคะก็
รู้ว่ามีราคะ หรือปราศจากราคะก็รู้ว่าปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้
ว่ามีโทสะ หรือปราศจากโทสะก็รู้ว่าปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่า
มีโมหะ หรือปราศจากโมหะก็รู้ว่าปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่า
หดหู่ หรือฟุ้งซ่านก็รู้ว่าฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ1ก็รู้ว่าเป็นมหัคคตะ
หรือไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่าไม่เป็นมหัคคตะ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่ามี
จิตอื่นยิ่งกว่า หรือไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็น
สมาธิก็รู้ว่าเป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าไม่เป็นสมาธิ จิตหลุด
พ้นก็รู้ว่าหลุดพ้น หรือไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าไม่หลุดพ้น
4. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ 1 ชาติบ้าง 2 ชาติบ้าง 3 ชาติบ้าง
4 ชาติบ้าง 5 ชาติบ้าง 10 ชาติบ้าง 20 ชาติบ้าง 30 ชาติบ้าง
40 ชาติบ้าง 50 ชาติบ้าง 100 ชาติบ้าง 1,000 ชาติบ้าง
100,000 ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอด
วิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอันมาก
บ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร
เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวย

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 2 ข้อ 23 (อุปกิเลสสูตร) หน้า 28 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :413 }