เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต 1. สัมมุติเปยยาล 2-14. เสนาสนปัญญาปกสุตตาทิ
2-14. เสนาสนปัญญาปกสุตตาทิ
ว่าด้วยภิกษุเสนาสนปัญญาปกะ1เป็นต้น
[273 - 285] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ สงฆ์ไม่พึง
แต่งตั้งให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะ ฯลฯ ไม่รู้จักเสนาสนะที่จัดแจงแล้วและเสนาสนะ
ที่ยังมิได้จัดแจง ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะ ฯลฯ รู้จักเสนาสนะ
ที่จัดแจงแล้วและเสนาสนะที่ยังมิได้จัดแจง ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นเสนาสนคาหาปกะ2 ฯลฯ ไม่รู้จักเสนาสนะที่จัดแจงแล้ว
และเสนาสนะที่ยังมิได้จัดแจง ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นเสนาสนคาหาปกะ ฯลฯ
รู้จักเสนาสนะที่จัดแจงแล้วและเสนาสนะที่ยังมิได้จัดแจง ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นภัณฑาคาริกะ3 ฯลฯ ไม่รู้จักภัณฑะที่เก็บแล้วและภัณฑะ
ที่ยังมิได้เก็บ ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นภัณฑาคาริกะ ฯลฯ รู้จักภัณฑะที่เก็บแล้ว
และภัณฑะที่ยังมิได้เก็บ ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นจีวรปฏิคคาหกะ4 ฯลฯ ไม่รู้จักจีวรที่รับไว้แล้วและจีวร
ที่ยังมิได้รับไว้ ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นจีวรปฏิคคาหกะ ฯลฯ รู้จักจีวรที่ได้รับแล้ว
และจีวรที่ยังมิได้รับ ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นจีวรภาชกะ5 ฯลฯ ไม่รู้จักจีวรที่แจกแล้วและจีวรที่ยัง
มิได้แจก ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นจีวรภาชกะ ฯลฯ รู้จักจีวรที่แจกแล้วและจีวรที่
ยังไม่ได้แจก ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 เสนาสนปัญญาปกะ หมายถึงภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงเสนาสนะ ดู วิ.จู. 6/189-
192/222-225 ประกอบ
2 เสนาสนคาหาปกะ หมายถึงภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดเสนาสนะ(ตามนัย วิ.อ. 3/
318/228-341)
3 ภัณฑาคาริกะ หมายถึงภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง ดู วิ.ม. 5/343/144
4 จีวรปฏิคคาหกะ หมายถึงภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร ดู วิ.ม. 5/342/143
5 จีวรภาชกะ หมายถึงภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร ดู วิ.ม. 5/343/145

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :401 }