เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [5. ปัญจมปัณณาสก์] 5. ทุจจริตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
3. บุคคลผู้เลื่อมใสในบุคคลที่หลีกไปสู่ทิศ มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บุคคล
ผู้เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรานี้หลีกไปสู่ทิศเสียแล้ว’ จึงไม่คบภิกษุ
เหล่าอื่น เมื่อไม่คบภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ฟังสัทธรรม เมื่อไม่ฟัง
สัทธรรม จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษของความเลื่อมใสที่เกิด
ขึ้นเฉพาะบุคคลประการที่ 3
4. บุคคลผู้เลื่อมใสในบุคคลที่ลาสิกขา มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้
เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรานี้ได้ลาสิกขาไปแล้ว’ จึงไม่คบภิกษุ
เหล่าอื่น เมื่อไม่คบภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ฟังสัทธรรม เมื่อไม่ฟัง
สัทธรรม จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษของความเลื่อมใสที่เกิด
ขึ้นเฉพาะบุคคลประการที่ 4
5. บุคคลผู้เลื่อมใสในบุคคลที่ตายแล้ว มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้
เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรานี้ได้ตายเสียแล้ว’ จึงไม่คบภิกษุเหล่าอื่น
เมื่อไม่คบภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ฟังสัทธรรม เมื่อไม่ฟังสัทธรรม
จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษของความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นเฉพาะ
บุคคลประการที่ 5
ภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคล มีโทษ 5 ประการนี้แล
ปุคคลัปปสาทสูตรที่ 10 จบ
ทุจจริตวรรคที่ 5 จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. ปฐมทุจจริตสูตร 2. ปฐมกายทุจจริตสูตร
3. ปฐมวจีทุจจริตสูตร 4. ปฐมมโนทุจจริตสูตร
5. ทุติยทุจจริตสูตร 6. ทุติยกายทุจจริตสูตร
7. ทุติยวจีทุจจริตสูตร 8. ทุติยมโนทุจจริตสูตร
9. สีวถิกสูตร 10. ปุคคลัปปสาทสูตร

ปัญจมปัณณาสก์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :391 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต 6. อุปสัมปทาวรรค 1. อุปสัมปาเทตัพพสูตร
6. อุปสัมปทาวรรค
หมวดว่าด้วยการอุปสมบท
1. อุปสัมปาเทตัพพสูตร1
ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้ให้อุปสมบท
[251] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5
ประการ พึงให้กุลบุตรอุปสมบทได้
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้ประกอบด้วยสีลขันธ์ที่เป็นอเสขะ2
2. เป็นผู้ประกอบด้วยสมาธิขันธ์ที่เป็นอเสขะ
3. เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาขันธ์ที่เป็นอเสขะ
4. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์ที่เป็นอเสขะ
5. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์3ที่เป็นอเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล พึงให้กุลบุตร
อุปสมบทได้
อุปสัมปาเทตัพพสูตรที่ 1 จบ

เชิงอรรถ :
1 ข้อ 251-253 ดู วิ.ม. (แปล) 4/84/123
2 อเสขะ ในที่นี้หมายถึงธรรมระดับโลกุตตระของพระอเสขะ ได้แก่ พระอรหันต์ (วิ.อ. 3/84/48, องฺ.ทสก.อ.
3/12/320)
3 วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ หมายถึงกองแห่งวิมุตติญาณทัสสนะเป็นความรู้ขั้นสุดท้าย แยกอธิบายได้ว่า
วิมุตติ หมายถึงอรหัตตผล ญาณทัสสนะ หมายถึงปัจจเวกขณญาณ คือ ญาณที่เกิดขึ้นถัดจากการบรรลุ
มรรคผลด้วยมรรคญาณและผลญาณ เพื่อพิจารณามรรคผล พิจารณากิเลสที่ละได้และเหลืออยู่รวมทั้ง
พิจารณานิพพาน จัดเป็นโลกิยะ ส่วนสีลขันธ์เป็นต้นนอกนี้จัดเป็นโลกุตตระ (วิ.อ. 3/84/48, องฺ.ติก.อ.
2/58/160, องฺ.ทสก.อ. 3/1/318)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :392 }