เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [5. ปัญจมปัณณาสก์] 5. ทุจจริตวรรค 9. สีวถิกสูตร
9. สีวถิกสูตร
ว่าด้วยป่าช้า
[249] ภิกษุทั้งหลาย ป่าช้ามีโทษ 5 ประการ
โทษ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ไม่สะอาด
2. มีกลิ่นเหม็น
3. มีภัย
4. เป็นที่อยู่ของอมนุษย์ดุร้าย
5. เป็นที่คร่ำครวญของคนจำนวนมาก
ภิกษุทั้งหลาย ป่าช้ามีโทษ 5 ประการนี้แล ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยป่าช้าก็มีโทษ 5 ประการนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน
โทษ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบกายกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบวจีกรรม
ที่ไม่สะอาด ประกอบมโนกรรมที่ไม่สะอาด เรากล่าวอย่างนี้เพราะ
เขาเป็นคนไม่สะอาด เรากล่าวว่าบุคคลนี้เป็นเหมือนป่าช้าที่ไม่สะอาด
2. กิตติศัพท์อันชั่วของเขาผู้ประกอบกายกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบ
วจีกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบมโนกรรมที่ไม่สะอาด ย่อมกระฉ่อนไป
เรากล่าวอย่างนี้เพราะเขาเป็นคนมีกลิ่นเหม็น เรากล่าวว่าบุคคลนี้
เป็นเหมือนป่าช้าที่มีกลิ่นเหม็น
3. เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รักย่อมเว้นห่างไกลบุคคลผู้
ประกอบกายกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบวจีกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบ
มโนกรรมที่ไม่สะอาด เรากล่าวอย่างนี้เพราะเขามีภัย เรากล่าวว่า
บุคคลนี้เป็นเหมือนป่าช้าที่มีภัย
4. เขาประกอบกายกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบวจีกรรมที่ไม่สะอาด
ประกอบมโนกรรมที่ไม่สะอาด ย่อมอยู่ร่วมกันกับบุคคลที่เหมือนกัน
เรากล่าวอย่างนี้เพราะเขาเป็นที่อยู่ที่ดุร้าย เรากล่าวว่าบุคคลนี้เป็น
เหมือนที่อยู่ของอมนุษย์ดุร้าย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :389 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [5. ปัญจมปัณณาสก์] 5. ทุจจริตวรรค 10. ปุคคลัปปสาทสูตร
5. เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รักเห็นเขาประกอบกายกรรม
ที่ไม่สะอาด ประกอบวจีกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบมโนกรรมที่ไม่
สะอาดแล้ว ย่อมถึงกับหมดอาลัยเป็นธรรมดาว่า ‘โอ เป็นทุกข์จริง
หนอสำหรับเราผู้จำต้องอยู่ร่วมกับบุคคลเช่นนี้’ เรากล่าวอย่างนี้
เพราะเขาเป็นที่คร่ำครวญ เรากล่าวว่าบุคคลนี้เป็นหมือนป่าช้าเป็น
ที่คร่ำครวญของคนจำนวนมาก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยป่าช้ามีโทษ 5 ประการนี้แล
สีวถิกสูตรที่ 9 จบ
10. ปุคคลัปปสาทสูตร
ว่าด้วยความเลื่อมใสเฉพาะบุคคล
[250] ภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคล มีโทษ 5 ประการนี้
โทษ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. บุคคลผู้เลื่อมใสในบุคคลที่ต้องอาบัติเป็นเหตุให้สงฆ์ยกวัตร มีความ
คิดอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรานี้ถูกสงฆ์ยกวัตร
เสียแล้ว’ จึงไม่เลื่อมใสในภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่เลื่อมใสในภิกษุ
ทั้งหลาย จึงไม่คบภิกษุเหล่าอื่น เมื่อไม่คบภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ฟัง
สัทธรรม เมื่อไม่ฟังสัทธรรม จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษของ
ความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคลประการที่ 1
2. บุคคลผู้เลื่อมใสในบุคคลที่ต้องอาบัติเป็นเหตุให้สงฆ์สั่งให้เขานั่งท้าย1
มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรานี้ถูกสงฆ์
สั่งให้นั่งท้ายเสียแล้ว‘จึงไม่เลื่อมใสในภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่เลื่อมใส
ในภิกษุทั้งหลาย จึงไม่คบภิกษุเหล่าอื่น เมื่อไม่คบภิกษุเหล่าอื่น
จึงไม่ฟังสัทธรรม เมื่อไม่ฟังสัทธรรม จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็น
โทษของความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคลประการที่ 2

เชิงอรรถ :
1 ท้าย หมายถึงอาสนะสุดท้ายของสงฆ์ (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/250/93)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :390 }