เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
3. ปัญจังคิกวรรค 8. ปัญจังคิกสูตร

ปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง นี้คือการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบ
ด้วยองค์ 5 อันเป็นอริยะ ประการที่ 3

4. ภิกษุบรรลุจตุตถฌาณที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขาอยู่ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไป
ก่อนแล้ว เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แลด้วยใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มี
ส่วนไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่
ถูกต้อง เปรียบเหมือนบุรุษพึงเอาผ้าขาว นั่งคลุมตัวตลอดศีรษะ
ก็ไม่มีส่วนไหน ๆ แห่งกายทุกส่วนของเขา ที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้อง
ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แล ด้วยใจ
อันบริสุทธิ์ผุดผ่องไม่มีส่วนไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่ใจอัน
บริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง นี้คือการเจริญสัมมาสมาธิที่
ประกอบด้วยองค์ 5 อันเป็นอริยะ ประการที่ 4

5. ภิกษุเรียนปัจจเวกขณนิมิต1 มาดี มนสิการดี ทรงจำไว้ดี แทง
ตลอดดีด้วยปัญญา เปรียบเหมือนคนหนึ่งพึงพิจารณาเห็นคนหนึ่ง
คนยืนพึงพิจารณาเห็นคนนั่ง หรือคนนั่งพึงพิจารณาเห็นคนนอน
ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เธอเรียนปัจจเวกขณนิมิตมาดี
มนสิการดี ทรงจำไว้ดี แทงตลอดดีด้วยปัญญา นี้คือการเจริญ
สัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ 5 อันเป็นอริยะ ประการที่ 5
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ 5 อันเป็นอริยะ ที่ภิกษุ
เจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เธอน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรม
ใด ๆ ที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เมื่อมีเหตุ2 เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้
เหมาะสม ที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ เปรียบเหมือนหม้อน้ำตั้งอยู่บนเชิงรอง
เต็มด้วยน้ำเสมอขอบปากพอที่กาจะดื่มได้ บุรุษผู้มีกำลังพึงเอียงหม้อน้ำนั้นไปรอบ ๆ
น้ำจะกระฉอกออกมาได้ไหม”


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
3. ปัญจังคิกวรรค 8. ปัญจังคิกสูตร

“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”

“ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสัมมาสมาธิอันประกอบด้วยองค์ 5 อันเป็น
อริยะที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้ เธอน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอัน
ยิ่งซึ่งธรรมใด ๆ ที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุ
ความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ เปรียบเหมือนสระน้ำมีลักษณะ
สี่เหลี่ยมในพื้นที่ราบ กั้นด้วยทำนบ เต็มด้วยน้ำเสมอขอบปากพอที่กาจะดื่มได้
บุรุษผู้มีกำลังพึงเปิดทำนบสระน้ำทุก ๆ ด้าน น้ำจะไหลออกมาได้ไหม”

“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”

“ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสัมมาสมาธิอันประกอบด้วยองค์ 5 อันเป็น
อริยะที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เธอน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญา
อันยิ่งซึ่งธรรมใด ๆ ที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความ
เป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
เปรียบเหมือนรถม้าที่เทียมแล้วจอดอยู่ที่ทางใหญ่สี่แพร่ง มีพื้นราบเรียบมีปฏัก
วางไว้ข้างบน คนฝึกม้าผู้ขยันชำนาญในการฝึกขึ้นรถนั้นแล้ว ถือเชือกด้วยมือซ้าย
ถือปฏักด้วยมือขวา พึงขับรถให้เดินหน้าบ้าง ให้ถอยหลังบ้างได้ตามต้องการ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสัมมาสมาธิอันประกอบด้วยองค์ 5 อันเป็นอริยะที่
ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้ เธอน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่ง
ธรรมใดที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสม
ที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ

ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็น
หลายคนก็ได้ ฯลฯ1 ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงได้ยินเสียง 2 ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์
ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ