เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
3. ปัญจังคิกวรรค 8. ปัญจังคิกสูตร

ปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง นี้คือการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบ
ด้วยองค์ 5 อันเป็นอริยะ ประการที่ 3

4. ภิกษุบรรลุจตุตถฌาณที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขาอยู่ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไป
ก่อนแล้ว เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แลด้วยใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มี
ส่วนไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่
ถูกต้อง เปรียบเหมือนบุรุษพึงเอาผ้าขาว นั่งคลุมตัวตลอดศีรษะ
ก็ไม่มีส่วนไหน ๆ แห่งกายทุกส่วนของเขา ที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้อง
ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แล ด้วยใจ
อันบริสุทธิ์ผุดผ่องไม่มีส่วนไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่ใจอัน
บริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง นี้คือการเจริญสัมมาสมาธิที่
ประกอบด้วยองค์ 5 อันเป็นอริยะ ประการที่ 4

5. ภิกษุเรียนปัจจเวกขณนิมิต1 มาดี มนสิการดี ทรงจำไว้ดี แทง
ตลอดดีด้วยปัญญา เปรียบเหมือนคนหนึ่งพึงพิจารณาเห็นคนหนึ่ง
คนยืนพึงพิจารณาเห็นคนนั่ง หรือคนนั่งพึงพิจารณาเห็นคนนอน
ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เธอเรียนปัจจเวกขณนิมิตมาดี
มนสิการดี ทรงจำไว้ดี แทงตลอดดีด้วยปัญญา นี้คือการเจริญ
สัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ 5 อันเป็นอริยะ ประการที่ 5
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ 5 อันเป็นอริยะ ที่ภิกษุ
เจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เธอน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรม
ใด ๆ ที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เมื่อมีเหตุ2 เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้
เหมาะสม ที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ เปรียบเหมือนหม้อน้ำตั้งอยู่บนเชิงรอง
เต็มด้วยน้ำเสมอขอบปากพอที่กาจะดื่มได้ บุรุษผู้มีกำลังพึงเอียงหม้อน้ำนั้นไปรอบ ๆ
น้ำจะกระฉอกออกมาได้ไหม”